New Document









เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ

ห้องเภสัชกร

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย morya » 18 ส.ค. 2010, 08:31

มาเอาใจช่วยพี่ทุงเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภค
ผมมีความสงสัยว่าทำไมเภสัชกรใน อย.ทั้งหลายถึงไม่ช่วยผลักดันเรื่องนี้บ้างเลย
มีแต่เภสัชกรใน สสจ. ออกมาต่อสู้เพียงลำพัง
และที่สำคัญทำไม อย.ถึงไม่สร้างความสัมพันธ์กับเภสัชกรใน รพช.บ้าง
อย.ทำงานคุ้มครองผู้บริโภคได้ก็ต้องอาศัย เภสัช สสจ. // เภสัช รพช. ทำงานให้
แต่พอเภสัชกรจะขอความก้าวหน้าบ้าง ไม่เห็นผู้ใหญ่ใน อย.โผล่มาช่วยเลย
morya
 
โพสต์: 241
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2007, 16:51







Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย TUANG » 09 ก.ย. 2010, 14:40

ไม่รู้ตอนนี้เรื่องไปถึงไหนแล้ว เอาใจช่วยท่านหัวหมู่(พี่ทุง)นะครับ ขอบคุณที่ทำเพื่อวิชาชีพเราให้มีที่ยืนเพิ่มมากขึ้น
TUANG
 
โพสต์: 36
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2009, 13:50

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 09 ก.ย. 2010, 15:13

ตอนนี้ ทางเลขานุการ รมว.สธ. ได้มีหนังสือแจ้งให้ทราบว่า ได้รับหนังสือจากชมรมเภสัชสาธารณสุขภาคอีสานแล้ว และจะนำเรียน รมว.สธ.เพื่อดำเนินการต่อไป

ส่วนสภาเภสัชกรรม ก็ได้เชิญพี่และตัวแทนกลุ่มที่ทำหนังสือทวงถามการจัดตั้งวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภค เข้าร่วมหารือเรื่องแนวทางการพัฒนาระบบการศึกษาต่อเนื่องของเภสัชกรด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในวันที่ 20 กย. 53 เวลา 9.30 น. ที่ สป. กระทรวงสาธารณสุขครับ

เห็นแว่วๆ ว่าจะผลักดันการเปิดหลักสูตรปริญญาเอกด้านคุ้มครองผู้บริโภคแทน :wink:

ถ้าเป็นอย่างนั้น แสดงว่า สภาเภสัช กำลังมึนกับบทบาทตัวเองหรือเปล่า และตอกย้ำว่า แนวคิดของกรรมการสภาชุดนี้

ยืนยันว่า งานคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ใช่วิชาชีพหรือเปล่า ???

ซึ่งก็สวนทางกับที่เลขาธิการ (อ.มังกร) ไปชี้แจงกับ รมว.สธ.ว่า จะส่งเสริมการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาเภสัชอุตสาหกรรม และ การคุ้มครองผู้บริโภค

เหนือสิ่งอื่นใด สภาเภสัชฯ กำลังทำผิดกฎหมายที่ไม่ยอมไปเร่งรัดการออกข้อบังคับที่เสนอไปยังสภานายกพิเศษตามเวลาที่กำหนดตาม พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม ม.27 วรรคสอง โดยไม่มีคำตอบให้สมาชิก

อย่างงี้ กรรมการสภาเภสัชฯ ที่เกี่ยวข้อง คงเข้าปิ้งตาม ม.157 ด้วยนะ :twisted:
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย TUANG » 09 ก.ย. 2010, 15:27

พี่ทุงอธิบายปริญญาเอก คบส.ด้วยครับ ไม่เข้าใจ มันต่างจากที่จะเปิดวิทลัยฯอย่างไรครับ
TUANG
 
โพสต์: 36
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2009, 13:50

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 09 ก.ย. 2010, 18:41

กพ.ได้พิจารณาคุณวุฒิของ ผู้ที่ได้อนุมัติบัตร หรือ วุฒิบัตร ผู้ชำนาญการในการประกอบวิชาชีพทั้งแพทย์ ทันตะ เภสัช ไว้เทียบเท่าปริญญาเอกครับ

สมมติว่า หากเปิดวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ เรียน 4 ปี จบ สอบผ่าน จะได้วุฒิบัตรที่เทียบเท่าปริญญาเอกครับ เหมือนแพทย์เฉพาะทางที่จบมา

ทีนี้ ถามว่า หากเรียนปริญญาโท/เอก ด้าน คบส.กับ เรียนวุฒิบัตร วิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ ต่างกันอย่างไร ?

ปรัชญาแตกต่างกันครับ เพราะปริญญาโท/เอก มุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็น Reseacher จึงเน้นการทำวิทยานิพนธ์

แต่วิทยาลัยคุ้มครองฯ มุ่งพัฒนาทักษะผู้เรียนเป็น practitioner คือ ทำเป็น มีความเชี่ยวชาญในการประเมินความเสี่ยง การบังคับใช้กฎหมาย ระบาดวิทยาเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค ฯลฯ

ดังนั้น หากวิทยาลัยคุ้มครองฯ เปิด ต่อไป เราจะได้เภสัชกรที่มีความเชี่ยวขาญเฉพาะด้าน เจาะลึกในงาน คบส. ด้านต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคที่มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งหากเราพัฒนาคนของเราได้ถึงขนาดนี้ รับรองว่า วิชาชีพอื่นตามไม่ทันครับ

คงไม่ใช่ให้เภสัชกรที่ทำงานคุ้มครองผู้บริโภค ไปเรียนปริญญาโท/เอก รู้แต่วิชาการ/ทฤษฎี แต่ไม่เชี่ยวชาญในการปฏิบัติ มั้งครับ

ก็ไม่เข้าใจแนวคิดของกรรมการสภาชุดนี้ ที่มุ่งจำกัดขอบเขตวิชาชีพให้อยู่เฉพาะที่ทำกับผู้ป่วยเท่านั้น ทั้งที่ปัจจุบัน สังคมให้การยอมรับการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคโดยเภสัชกรมากขึ้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย Barrios » 09 ก.ย. 2010, 19:06

ก็สภามีสัดส่วนของ สสจ. น้อยไป
เราให้ความสำคัญกับ อาจารย์มากเกินไป
ลองเชิญ อ.ในสภามาดูงานในแขนงอื่น ๆ มั่งสิครับ เช่นประชุม สสจ.กันที่ อย. ก็เชิญมากินข้าวกันมาเป็นวิทยากรให้สักนิด จะได้มีบรรยากาศดี ๆ ในการพูดคุยกัน
ภาพประจำตัวสมาชิก
Barrios
 
โพสต์: 714
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 08:41
ที่อยู่: ประเวศ กทม.

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 10 ก.ย. 2010, 09:34

ยุคนี้ น่าจะเป็นสภาเภสัขกรรมของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป มากกว่าครับ

การที่เราใช้สิทธิกันน้อย และมีเภสัชกรบางกลุ่มใช้สิทธิกันมาก ส่งผลให้องค์ประกอบของสภาเภสัชกรรมไม่สมดุลครับ

อย่างกรรมการที่มาในชุดนี้ 10 คนก็มาจากทีมเขียวมะกอกเภสัช อีก 2 คนมาจากทีมมงคลนามเภสัชกรรม

ขาดผู้แทนจากสายงานเภสัชอุตสาหกรรม คุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งงานคุ้มครองฯ ไม่มีได้แต่ สสจ.เท่านั้น

อย. รพช. ร้านยา และ องค์กรภาคเอกชน แม้แต่อาจารย์ที่สอนด้านเภสัชศาสตร์สังคม ก็มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งนั้นครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย azzuri » 13 ก.ย. 2010, 18:41

หากไม่ใช่เภสัชกรงานคุ้มครองผู้บริโภค ให้คนอื่นทำได้มั้ยครับ

ถ้าได้ผมจะได้ไปหางานอื่นทำ
เภสัชกร = เภสัชกรรม + กรรมกร
อยากให้โลกนี้ไม่มีโชคร้าย
Welcome to My Life
Casa di AzzurRi = บ้านของนาย อัซซูร์รี่
ภาพประจำตัวสมาชิก
azzuri
Global Moderator
 
โพสต์: 777
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 มี.ค. 2004, 16:22
ที่อยู่: สกลนคร

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 18 ก.ย. 2010, 20:56


วันจันทร์ที่ 20 กย. นี้ เตรียมไปประชุมหารือร่วมกับสภาเภสัชกรรม เรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบการศึกษาต่อเนื่องเภสัชกรด้านคุ้มครองผู้บริโภค

ผมเห็นว่า การพัฒนาระบบการศึกษาทังระบบปริญญาที่เน้นวิชาการและวิจัย (Knowledge&Research) ควบคู่กับ การตั้งวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ ที่เน้นทักษะความเชี่ยวชาญทางปฏิบัติ (Skill & Practice) น่าจะเป็นสิ่งดีๆ เป็นก้าวแรกของประวัติศาสต์การพัฒนาวิชาชีพ ที่กรรมการสภาชุดนี้จะฝากผลงานให้คนรุ่นต่อไปได้ประจักษ์ครับ

หากมีผู้เชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพด้านคุ้มครองผู้บริโภค เช่นเดียวกับ เภสัชบำบัดแล้ว ผลประโยชน์ย่อมตกแก่ประชาชนแน่นอน ตามหลักการของวิชาชีพที่เน้นการพัฒนาทักษะ ความเชี่ยวชาญ เพือความปลอดภัยของประชาชน ความชำนาญเฉพาะด้าน และจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ

ขอให้การประชุมผ่านพ้นไปด้วยดี ด้วยเหตุด้วยผล แบบพี่ๆ น้องๆ นะครับ สาธุ
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย KKU_rx » 21 ก.ย. 2010, 06:45

ต้องถามกันก่อนว่า หัวข้อนี้ เป็นหน้าที่ของสภาเภสัชหรือไม่ ?
ที่ผ่านๆมาสภาเภสัชฯ ไม่มีผลงานเข้าตาเลยจริงๆ ทำงานไม่เป็นก็ว่าได้ ไม่รู้ว่า อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ
อาจารย์ธิดาไม่น่ามาทำงานตรงนี้เพราะไม่มีศักยภาพ
สิ่งที่สภาต้องทำขณะนี้ คือ ทำอย่างไรให้วิชาชีพเภสัชกรมีศักดิ์ศรีทัดเทียมวิชาชีพอื่นในสายเดียวกัน
นี่คือเรื่องด่วนมากและสำคัญมากแต่อาจารย์ธิดาไม่เคยรับรู้

เป็นประสบการณ์ของเภสัชกรทั้งมวล ว่าต่อไปข้างหน้าไม่ควรเลือกนายกสภาที่มีสามีเป็นแพทย์ เพราะจะทำอะไรไม่ได้เกรงใจกันไปหมด
และความเป็นอาจารย์ของกรรมการท่านอื่นๆก็แค่นักวิชาการ ไม่ใช่นักต่อสู้
KKU_rx
 
โพสต์: 11
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2010, 14:30

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 21 ก.ย. 2010, 13:57

ตาม พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.๒๕๓๗ มาตรา ๙ สภาเภสัชกรรมมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
:
(๓) รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในวิชาเภสัชศาสตร์หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก
(๔) รับรองหลักสูตรต่าง ๆ สำหรับการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ ของวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ ของวิชาชีพเภสัชกรรม
(๕) รับรองวิทยาฐานะของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมใน (๔)
(๖) ออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาต่างๆ และออกหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพเภสัชกรรม

ไปประชุมสภาเภสัชเรื่องวิทยาลัย คบส.เมื่อวานนี้ ช่วงแรก บรรยากาศดุเดือด ร้อนแรงถึงขั้นท้าให้ฟ้องศาลปกครอง ประเด็น สภาฯ ดำเนินการกับข้อบังคับฯ ว่าด้วยวิทยาลัย คบส.ผิดกฎหมาย

ก่อนจะแสวงหาจุดร่วมในประเด็นการหาความชัดเจนในเรื่องการพัฒนาความรู้งาน คบส.ในหลักสูตร 6 ปี ช่วง 2 ปีหลัง และ การตั้งอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณาแนวทางการตั้งวิทยาลัย คบส.

งานนี้ต้องติดตามต่อไป สภาเภสัชฯ อ้างว่ายึดหลัก ช้าแต่ถูกต้อง ไม่ดองนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 25 ก.ย. 2010, 11:51

ตามที่สภาเภสัชกรรมได้ประชุมหารือร่วมกับตัวแทนชมรมเภสัชสาธารณสุขภาคอีสาน เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการศึกษาต่อเนื่องเภสัชกรด้านคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อวันที่ 20 กย. 53 นั้น

ที่ประชุมได้มีมติ ดังนี้

1. ประเด็นข้อกฎหมายในการออกข้อบังคับฯ ให้อุปนายกสภาเภสัชกรรมคนที่หนึ่ง (ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์) ติดตามความก้าวหน้าการลงนามเห็นชอบข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ โดยให้ประสานกับตัวแทนของชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัด (ภก.ณรงค์ชัย จันทร์พร) ทางอีเมล หรือ ช่องทางอื่นๆ
และให้รายงานความคืบหน้าในที่ประชุมกรรมการสภาเภสัชกรรมทราบด้วย

2. หลักสูตรปริญญาตรี 6 ปี ต้องมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานงานคุ้มครองผู้บริโภคใน 2 ปีสุดท้าย สำหรับผู้ที่เลือกสาขาการคุ้มครองผู้บริโภค

3. ควรมีการเผยแพร่ ปชส. ในประเด็นวิชาชีพ เพื่อให้สังคมยอมรับความชัดเจนในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพโดยเภสัชกร

4. ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาศึกษาความเป็นไปได้และแนวทางการจัดตั้งวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ

สำหรับรายละเอียด ความเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม รวมทั้ง สรุปการเคลื่อนไหวผลักดันการจัดตั้งวิทยาลัยฯ เป็นมหากาพย์ตั้งแต่ปี 2550 สรุปตามเอกสารข้างล่างนี้ครับ
แนบไฟล์
สรุปการประชุมหารือกับสภาเภสัชกรรม20กย53.doc
(63 KiB) ดาวน์โหลด 1071 ครั้ง
สรุปการเคลื่อนไหวผลักดันการจัดตั้งวิทยาลัย_คบส.doc
(35.5 KiB) ดาวน์โหลด 662 ครั้ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 25 ก.ย. 2010, 12:11

มีข้อมูลเพิ่มเติมจากพี่วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร กรณีประเด็น การแก้ไขนิยามวิชาชีพ ของคณะกรรมการกฤษฎีกา

ประเด็นเรื่อง นิยามวิชาชีพเภสัชกรรม

คณะกรรมการกลั่นกรองกฎหมายของ ครม. มีมติเห็นชอบให้เสนอ ครม. ให้เพิ่มเติม "การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ" ในนิยามวิชาชีพเภสัชกรรม ตามที่ได้รับรู้ข้อมูล และคำอธิบายจากท่านอาจารย์สำลี ใจดี และ ครม. ก็มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการกลั่นกรองกฎหมาย และมอบหมายให้คณะกรรมการกฤษฎีการับไปดำเนินการ

แต่จะด้วยเหตุใดก็ตาม ชุดที่ร่างกฎหมาย ไม่ได้ดำเนินการตามมติ ครม. ครับ
(มีเอกสารราชการยืนยันข้อความจริงข้างต้นทุกประการ)

ดังนั้น จึงขอแจ้งข้อจริงให้ทราบว่า มีผู้คนอีกมากมายนอกวงการเภสัชกรรมที่เห็นว่า การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ เป็นหน้าที่และเป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีพเภสัชกรรม
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 25 ก.ย. 2010, 12:16

เร็วๆ นี้ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็จะเปิดหลักสูตร คุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ แต่ในส่วนของคุ้มครองผู้บริโภคด้านยา คณะสาธารณสุขฯ ต้องมาขอให้ คณะเภสัช ขอนแก่น จัดหลักสูตรและอาจารย์สอนให้ เพราะเขาทำเองไม่ได้

จึงเห็นได้ว่า สังคมให้การยอมรับ ว่า การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยา เป็นเรื่องของเภสัช มีแต่พวกเราบางคนหรือเปล่าที่ยังไม่ยอมรับ ???
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย GPE » 26 ก.ย. 2010, 21:23

อยากรู้เช่นกัน แต่ผมเลิกสนใจ วิทยาลัย ต่างๆ จากเภสัชสภานานแล้ว
TENS LG 7000 --- TENS LG 7000 ... |
เลิกบุหรี่ -เว็บเลิกบุหรี่ ... |
ภาพประจำตัวสมาชิก
GPE
 
โพสต์: 201
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2004, 11:08
ที่อยู่: จ.ขอนแก่น

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง เอสเปรสโซ่

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document