New Document









เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ

ห้องเภสัชกร

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 10 ต.ค. 2010, 12:38

cm_pharmacistclub เขียน:เพราะมันเป็น บอรด์ เชี่ยวชาญเฉาะ เภสัชกรที่ทำงานใน สสจ อย่างเดียวมากกว่าวิชาชีพเภสัชกรรมโดยแท้จริง ...


น่าจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนครับ หากไปดูข้อคิดเห็นในกระทู้ย้อนหลัง รวมทั้ง สรุปรายงานการประชุมร่วมกับสภาเภสัชกรรมเมื่อวันที่ 20 กย. 53 ที่ผมได้สรุปไว้

เรื่องวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ เป็น Knowledge based ไม่ใช่ setting based เหมือน วิทยาลัยของเภสัช สสจ. คงไม่ใช่ครับ

เภสัชกรที่อยู่ในสาขาการคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้องค์ความรู้ ทักษะทางเภสัชศาสตร์ในการทำงาน และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด มีคุณสมบัติสามารถเข้าสอบหนังสืออนุมัติ หรือ ฝึกอบรมและสอบวุฒิบัตรได้หมดครับ

ประเด็นที่ไปเทียบเคียงกับตำแหน่งราชการของเภสัช สสจ.ว่าเป็น ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ และมาเทียบกับวิทยาลัยฯ ก็ไม่ใช่อีกครับ เพราะเกณฑ์ในการสอบหนังสืออนุมัติ ตามร่าง ไม่มีข้อใดที่ให้เทียบเคียงกับตำแหน่งราชการเลย เภสัชกรที่อยู่ในภาคเอกชนที่ทำงานคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ว่า จะเป็น คคส. กพย. มพบ. สามารถเข้าสอบหรือเรียนได้ทั้งนั้นครับ

หากเราไปดูนิยามของ คำว่า "คุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ" ตามข้อบังคับฯ ที่สภาเภสัชกรรมจะพิจารณาในวันที่ 18 ตค. นี้ ก็ไม่มีข้อความใดที่ไปผูกโยงว่า ต้องเป็นเภสัช สสจ.เท่านั้นที่เข้าวิทยาลัยฯ ได้

?การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ? หมายถึง การปกป้องสิทธิ การคุ้มครองสิทธิ การสร้างเสริมศักยภาพ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยและความเป็นธรรมจากการบริโภคยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ ทั้งนี้โดยใช้องค์ความรู้และทักษะในการบริหารจัดการทางเภสัชศาสตร์บูรณาการร่วมกับศาสตร์สาขาอื่น

เหตุที่แกนนำเคลือนไหวเป็นเภสัช สสจ. เพราะ เภสัช สสจ.อยู่ใกล้แหล่งข้อมูล มีการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งและเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ซึ่งทีผ่านมา ก็มีการสื่อสารให้ตัวแทนเภสัชกรท รพช.ทราบด้วย และมีส่วนร่วม ดังจะเห็นจาก หนังสือเรียกร้องของชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัด ก็มีรายชื่อทั้งเภสัชกร สสจ./รพช./NGOs ครบครับ

และตอนนี้ สภาเภสัชกรรมได้ตั้งคณะอนุกรรมการประสานงานความชัดเจนในการจัดตั้งวิทยาลัยฯ ก็มีตัวแทนทั้ง อย./สสจ./รพศ./รพท./รพช. ครับ ซึ่งจะประชุมนัดแรกในวันที่ 15 ตค. นี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57







Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย cm_pharmacistclub » 13 ต.ค. 2010, 15:24

เรื่องวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคจะทำได้อย่างไร แค่ได้รับมอบหมายตามกฎหมายในฐานะให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เท่าน้ั้น ในการเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพรบ.ยาก็ไม่ได้มีแค่เภสัชกร การจะเเป็นผู้รับอนุมัติความรู้ความเชี่ยวชาญต้องมีองค์ความรู้ของตัวเองพัฒนาขึ้นมา การเป็นฝ่ายปกครองธรรมดา ไม่ได้เกี่ยวกับความรู้ด้านเภสัชกรรม เป็นเรื่องของการบังคับใช้กฏหมายต้องเรียนจบกฏหมายมา คำว่าวิชาชีพเป็นการกระทำที่ผู้ใดไม่สามารถทำได้และผิดกฏหมาย เอาเวลา ไปตั้งบอร์ดเภสัชกรวิเคราะห์ยา, เภสัชกรเลือกสรรยา, เภสัชกรปรุงยา อะไรที่เป็นการระบุว่าเป็นการกระทำ ในฐานะวิชาชีพแล้วไปต่อยอดจะดีกว่า และที่สำคัญคนจบบอร์ดนี้นั้น จะต้องประกอบวิชาชีพโดยอิสระได้โดยสังคมยอมรับในความเชี่ยวชาญ มิได้ด้วยการเป็นข้าราชการ ที่ทำงานในภาคส่วนใดก็ได้ เช่น หมอสูติ หมอเด็ก หมอศัลย์ นี่คือเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ
NEVER BOWS MY HEAD TO THE ELITE RULERS
ภาพประจำตัวสมาชิก
cm_pharmacistclub
 
โพสต์: 65
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 มี.ค. 2010, 16:21
ที่อยู่: ข้าจะทำตามเจตนาของสวรรค์

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 13 ต.ค. 2010, 16:43

คุณ cm_pharmacist ตั้งโจทย์ผิดเหมือนสภาเภสัชกรรม ครับ ลองไปอ่านบทความชิ้นนี้ก่อนครับ เผื่ออะไรจะกระจ่างขึ้น

เพราะตอนนี้ สภาเภสัชกรรม ก็ดวงตาเห็นธรรมแล้ว มีการเร่งรัดการนำข้อบังคับฯ ไปลงราชกิจจาฯ และจะมีการประชุมอนุกรรมการฯ ในวันที่ 15 ตค. แล้ว ฝากคุณ cm_pharmacist updated ข้อมูลและแนวคิดตามสภาเภสัชกรรมละครับ :wink:
แนบไฟล์
เมื่อตั้งโจทย์ผิดๆ และพยายามหาคำตอบต่อโจทย์ที่ผิดๆ แก้ไข.doc
(48 KiB) ดาวน์โหลด 22762 ครั้ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย winzzz » 14 ต.ค. 2010, 21:18

ลงในราชกิจจา แสดงว่าจะมีการตั้งแน่นอนแล้วใช่หรือไม่ จะได้แสดงความดีใจ
อย่างวิชาชีพ พยาบาลเค้ามีเปิดอบรมกันมากมาย เช่น เชี่ยวชาญด้านไตเทียม อบรมกัน 4 เดือน จบมา Up เงินกันมากมาย
สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) ก็จ่ายยาแทนหมอ แทนเภสัช เค้าก้าวหน้า สามัคคีกันมาก
ดูแค่สถานที่ สภาการพยาบาล กับ สภาเภสัชกรรม ใครใหญ่กว่ากัน
winzzz
 
โพสต์: 77
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 21:41
ที่อยู่: Thailand

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 16 ต.ค. 2010, 00:54

คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมจะประชุมวันจันทร์ที่ 18 ตค. นี้ครับ เพื่อพิจารณาว่า จะนำข้อบังคับฯ ไปลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาหรือไม่ หากผ่าน ก็ดีใจขั้นแรกครับ ต่อไปก็ต้องมาช่วยกันขับเคลื่อนการตั้งวิทยาลัยฯ ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งขณะนี้ สภาเภสัชฯ ได้ตั้งคณะอนุกรรมการประสานความชัดเจนแนวทางการจัดตั้งวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ แล้วครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 18 ต.ค. 2010, 17:08

ข่าวดีครับ :razz: :biggrin: ได้รับแจ้งเมื่อครู่

สภาเภสัชกรรมมีมติรับรองร่างข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพฯ โดยไม่มีการแก้ไขข้อบังคับฯ

และ นายกสภาเภสัชกรรม (อ.ธิดา นิงสานนท์) จะลงนามในข้อบังคับฯ และส่งให้สภานายกพิเศษ (รมว.สธ.) เห็นชอบ ภายใน 15 วันและจะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

ผมใคร่ขอขอบคุณกรรมการสภาเภสัชกรรมที่เห็นคุณค่าของการพัฒนาความเชี่ยวชาญของเภสัชกรด้านคุ้มครองผู้บริโภค รับฟังเสียงสะท้อนจากสมาชิก และใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาโดยเห็นแก่ประโยชน์ที่จะเกิดแก่วิชาชีพและประชาชนอย่างแท้จริง ที่ผ่านมา หากมีสิ่งใดที่ได้ล่วงเกินหรือทำให้ไม่สบายใจ ขุ่นเคืองหมองใจ ด้วยประการใดๆ ผมและเพื่อนๆ ใคร่ขอกราบอภัยท่านมา ณ ที่นี้ด้วย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราจะร่วมกันสนับสนุนให้วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ได้ถือกำเนิดและดำเนินการอย่างมั่นคง ก้าวหน้า และทำคุณประโยชน์แก่สังคมต่อไป :smile:

ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย apotheker » 18 ต.ค. 2010, 19:19

ดีใจด้วยครับ (เรื่องนี้ผมไม่ค่อยรู้เรื่องหรอก งงๆ :mrgreen: )
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
apotheker
Global Moderator
 
โพสต์: 2435
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.พ. 2004, 11:48
ที่อยู่: simcity

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย เภสัชทุง » 18 ต.ค. 2010, 20:04

ขอบคุณครับ คุณ Apo ขอบอกในส่วนของวิทยาลัยฯ ที่เกี่ยวข้องกับร้านยาว่า หากมีวิทยาลัยฯ ผู้เรียนหรือฝึกอบรมจะต้องมีจรรยาบรรณฯ คือ ไม่แขวนป้าย และ หากมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายด้านยา ก็ต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ด้วยจิตสำนึกของเภสัชกรสาขาคุ้มครองผู้บริโภค เพราะหากไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง ก็คงป่วยการที่จะไปคุ้มครองคนอื่นครับ

ข้อมูลรายละเอียดผลการลงมติของกรรมการสภาเภสัชกรรม จากพี่ณุ

ที่ประชุมมีการพิจารณาเพื่อลงมติ 2 แนวทางดังนี้

1. ให้นำข้อบังคับเดิมไปลงประกาศในราชกิจจาเลย
(กรรมการฯที่สนับสนุนให้ความเห็นว่า เนื่องจากถือว่าข้อบังคับนั้นได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้วและถือว่าเพื่อทำตามกฎหมาย)

2. ให้นายกสภาฯนำข้อบังคับเดิมเสนอยังกลับยังสภานายกพิเศษ (รมต.) อีกครั้ง
(กรรมการที่สนับสนุนให้ความเห็นว่า รัฐมนตรีท่านปัจจุบันเป็นคนละท่านกับท่านที่แล้ว และเพื่อนำเสนอแทนฉบับเดิมที่สูญหายไป)

สุดท้ายผลการลงมติ

แนวทาง 1 จำนวน 5 ท่าน

แนวทาง 2 จำนวน 11 ท่าน

งดออกเสียง จำนวน 3 ท่าน (ให้เหตุผลว่าต้องการให้กลับมาพิจารณารายละเอียดใหม่)

งดออกเสียง จำนวน 2 ท่าน (ให้เหตุผลว่าไม่ทราบข้อมูลจึงไม่สามารถพิจารณาได้)

ทั้งนี้ทางสำนักงานเลขาฯจะดำเนินการตามแนวทางที่ 2 และจะเร่งให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน เพื่อนำมาประกาศในราชกิจจาต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย ประชาสัมพันธ์สภาเภสัชกรรม » 19 ต.ค. 2010, 08:27

สภาเภสัชกรรมมีมติเห็นด้วยกับการจัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภค

สภาเภสัชกรรมมีมติให้นายกสภาเภสัชกรรมลงนามยืนยันมติ ข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ เพื่อเสนอต่อนายกสภาพิเศษลงนามให้ความเห็นชอบ ตามที่กำหนดในมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537 และจะได้ดำเนินการต่อเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีการบังคับใช้ข้อบังคับดังกล่าวในเร็ววัน

ช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา สมาชิกสภาเภสัชกรรมมีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางที่ต้องการให้สภามีความชัดเจนเรื่องการจัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ ซึ่งคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมต้องขอขอบคุณต่อการมีส่วนร่วม และแสดงเจตจำนงดังกล่าว สภาเภสัชกรรมขอแจ้งต่อสมาชิกทุกท่านทราบว่า ส่วนใหญ่แล้วคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมเห็นด้วยกับการจัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ เพียงแต่มีความเห็นที่แตกต่างกันบ้างในขั้นตอนการดำเนินการที่ต่อเนื่องจากเหตุการณ์ที่เป็นที่รับทราบทั่วกันอยู่แล้ว

ดังนั้นในวาระการประชุมครั้งที่ 186 (10/2553) วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2553 มี 2 วาระ ที่เกี่ยวข้องกับข้อบังคับว่าด้วยวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ 2 วาระ คือ
1. วาระ 6.6 ภก.วรวิทย์ กิตติวงษ์สุนทร กรรมการสภา เสนอให้ส่งข้อบังคับที่มิได้มีการลงนามหรือความเห็นชอบจากนายกสภาพิเศษ แต่อาศัยมาตรา 27 ในประเด็นที่มิได้ยังยั้งใน 15 วัน ให้ถือว่าสภานายกพิเศษให้ความเห็นชอบ ส่งตรงไปที่สำนักงานเลขานุการคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาลงในราชกิจจานุเบกษา โดยไม่ต้องมีความเห็นชอบของสภานายกพิเศษแนบ เพราะถือว่าชอบด้วยมาตรา 27 ตาม พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม 2537
2. วาระ 6.7 รศ.(พิเศษ) ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ อุปนายกสภาเภสัชกรรม คนที่หนึ่ง ได้เสนอให้คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมยืนยันมติคณะกรรมการในวาระที่ผ่านมา ในการเห็นชอบ การออกกฎกระทรวง และข้อบังคับสภาเภสัชกรรม รวม 4 ฉบับ (รวมถึงข้อบังคับสภาฯ ว่าด้วยวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ) ซึ่งได้เคยเสนอสภานายกพิเศษ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) ให้ความเห็นชอบ ตามที่บัญญัติในมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 แล้ว แต่สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีแจ้งว่าเรื่องหายไม่สามารถหาต้นเรื่องเดิมได้ เพื่อให้สภานายกพิเศษเห็นชอบ เพื่อจะได้นำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับต่อไป

ซึ่งนายกสภาแภสัชกรรมได้เสนอให้พิจารณารวมทั้ง 2 วาระเข้าด้วยกัน เนื่องจากเป็นข้อเสนอทางเลือกที่มีเป้าหมายเหมือนกันเพื่อให้สามารถดำเนินการในเรื่องข้อบังคับว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ต่อไปได้ ซึ่งคณะกรรมการได้ มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยสรุปดังนี้
ประเด็นข้อเสนอในวาระ 6.6 เห็นว่าเพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในมาตรา 27 วรรคสอง กรณีสภานายกพิเศษมิได้ยับยั้งภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับที่นายกสภาเภสัชกรรมเสนอ ให้ถือว่าสภานายกพิเศษให้ความเห็นชอบมตินั้น ดังนั้นขณะนี้ถือว่าข้อบังคับสมบูรณ์แล้ว กรรมการสภาจะลงมติซ้ำไม่ได้ ต้องเสนอเพื่อลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเท่านั้น ซึ่งประเด็นนี้ก็มีความเห็นท้วงว่า หากถือการตีความกฎหมายตามที่เสนอ หากกรรมการมีมติให้เสนอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว สำนักเลขาคณะรัฐมนตรีไม่ลงประกาศให้หรือส่งเรื่องคืน เนื่องจากเห็นควรให้สภานายกพิเศษเห็นชอบก่อนตามธรรมเนียมปฏิบัติของทางราชการ ก็จะเป็นทางตันของข้อบังคับนี้ เนื่องจากเห็นว่ากรรมการไม่สามารถมีมติซ้ำได้ เมื่อข้อบังคับสมบูรณ์แล้วแต่ไม่ได้สามารถถประกาศเพื่อใช้บังคับได้ ก็จะไม่มีทางออก ดังนั้นหากจะทำเรื่องนี้ใหม่ก็ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่
ประเด็นข้อเสนอในวาระ 6.7 เห็นว่าหากสามารถนำเสนอคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมชุดปัจจุบัน มีมติยืนยันเห็นชอบร่างกฎกระทรวง และร่างข้อบังคับสภาเภสัชกรรมทั้ง 4 ฉบับ (รวมถึงข้อบังคับสภาฯ ว่าด้วยวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ) อีกครั้ง ซึ่งจะเป็นมติในวาระของนายกสภาเภสัชกรรมวาระนี้ และเสนอเรื่องมาใหม่ ในวาระรัฐมนตรีท่านปัจจุบัน ก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี ที่สะดวกใจกับทุกฝ่าย และทางเลขานุการรัฐมนตรีก็รับที่จะเร่งเรื่องให้หากมีการเสนอเรื่องขึ้นไปใหม่นี้ (เนื่องจากยอมรับว่าไม่สามารถหาต้นเรื่องเดิมทั้ง 4 เรื่องได้) ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่มั่นใจได้มากกว่า
อย่างไรก็ตามมีกรรมการสภาฯ หลายท่านเสนอให้มีทางเลือกที่สามคือ นำข้อบังคับดังกล่าวกลับมาทบทวนแก้ไขสิ่งบกพร่อง หรือทำให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด และเวียนเพื่อขอความเห็น เนื่องจากจากการประชุมคณะทำงานร่วมที่สภาเภสัชกรรมตั้งขึ้น (ผู้แทนจาก สสจ. และกรรมการสภา) เห็นว่าข้อบังคับดังกล่าวยังมีความบกพร่อง ไม่เหมาะสมและความไม่ชัดเจนในหลายจุด หากจะให้ผ่านออกไปโดยไม่แก้ไขก็ไม่น่าจะถูกต้อง และในฐานะกรรมการที่ต้องรับผิดชอบก็คงไม่สามารถให้ผ่านได้
ท่านนายกสภาเภสัชกรรม ได้สรุปประเด็นที่อาจมีความเห็นแย้งกันที่ได้ไปปรึกษานักกฎหมายจากหลายองค์กรทั้งนักกฎหมายและตุลาการ ในประเด็นเรื่องข้อบังคับสมบูรณ์แล้วหรือไม่ตามมาตรา 27 ก็มีความเห็นว่าสามารถตีความว่าเมื่อเรื่องถึงสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ก็แสดงว่ารัฐมนตรีรับรู้แล้วก็ได้ แต่อีกความเห็นก็เห็นว่ายังไม่สามารถสรุปได้ว่ารัฐมนตรีทราบเรื่อง เนื่องจากเรื่องยังไม่เสนอถึงรัฐมนตรี แต่ทุกท่านก็ให้ความเห็นว่า เรื่องของสภาเภสัชกรรม เมื่อมีกรรมการชุดใหม่และครั้งนี้ก็มีเหตุเรื่องหายซึ่งก็เป็นเรื่องที่ไม่ได้มีการกำหนดในกฎหมาย สภาเภสัชกรรมสามารถดึงเรื่องกลับมาพิจารณาทบทวนใหม่ได้เสมอ แม้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ตามหากเงื่อนไขสถานการณ์เปลี่ยนไปกรรมการก็สามมารถทบทวนได้เช่นกัน
ท้ายสุดนายกสภาเภสัชกรรม ได้สรุปขอให้มีการลงมติเพียงใน 2 ประเด็นตามวาระ 6.6 และ 6.7
ซึ่งที่ประชุมก็ได้มีการลงมติ ดังนี้
1. เห็นชอบให้ดำเนินการตามข้อเสนอวาระ 6.6 คือ ส่งเรื่องเดิมไปประกาศในราชกิจจาฯทันที ด้วยคะแนนเสียง 5 เสียง
2. เห็นชอบให้มีการดำเนินการตามข้อเสนอวาระ 6.7 คือ คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมปัจจุบันลงนามยืนยันมติเดิม และเสนอกลับขึ้นไปที่สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี เพื่อให้สภานายกพิเศษ ลงนามภายใต้เงื่อนไขตามมาตรา 27 อีกครั้งหนึ่ง ด้วยคะแนนเสียง 10 เสียง
3. งดออกเสียง จำนวน 4 ท่าน เนื่องจากเห็นว่าควรนำเรื่องกลับมาทบทวนใหม่ทั้งหมดก่อน

คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมขอเรียนต่อสมาชิกทุกท่านว่า คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมเห็นด้วยกับการจัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ การลงมติดังกล่าวตั้งบนเงื่อนไขที่ต้องการให้จัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคฯ เป็นไปอย่างราบรื่น คำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นที่ไม่เป็นไปตามลายลักษณ์อักษร จารีตและธรรมเนียมการปฏิบัติ และให้เกิดผลดีในทางปฏิบัติต่อองค์กร และวิชาชีพโดยรวม การลงมติในครั้งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสภาเภสัชกรรมได้ดำเนินการตามที่ได้มีข้อตกลงร่วมกับเภสัชกรที่เป็นตัวแทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงาน อย. และกรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ (ที่ทางชมรมเภสัชกร สสจ. เสนอรายชื่อมา) ที่เข้ามาหารือกับกรรมการสภาเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2553 ซึ่งได้เห็นชอบร่วมกันใน 3 เรื่องคือ หนึ่งสภาจะติดตามข้อบังคับฯดังกล่าว ต่อให้ออกมาได้ สองสภาจะประสานงานกับ ศศภท. ในการสร้างความชัดเจนของหลักสูตรระดับปริญญาตรีเภสัชศาสตร์สาขาคุ้มครองผู้บริโภคฯขึ้นมารองรับเพื่อให้เกิดฐานที่มั่นคงในระยะยาว และ สามจะตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อร่วมกันทบทวนสร้างความชัดเจนของการจัดตั้งวิทยาลัยคุ้มครองฯ ตามข้อบังคับเพื่อให้มีการดำเนินการอย่างถูกต้องเหมาะสม

ขอขอบพระคุณสมาชิกสภาเภสัชกรรมทุกท่านที่ได้ติดตามและแสดงเจตจำนงอย่างชัดเจนที่จะพัฒนาวิชาชีพเภสัชกรรมเพื่อความก้าวหน้า และเป็นที่พึ่งของสังคมได้อย่างมีคุณภาพร่วมกัน สภาเภสัชกรรมพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ด้วยความจริงใจ

สำนักงานเลขาธิการสภาเภสัชกรรม
18 ตุลาคม 2553
ภาพประจำตัวสมาชิก
ประชาสัมพันธ์สภาเภสัชกรรม
 
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2010, 14:43

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย pharmakkk » 20 ต.ค. 2010, 11:41

ก้าวใหม่ของสภาเภสัชกรรม กับก้าวที่กล้า ปล.ผมชักรักสภาเภสัชกรรมขึ้นมาแล้ว
pharmakkk
 
โพสต์: 26
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2008, 18:05

Re: เหตุใดสภาเภสัชจึงดองเรื่องการตั้งวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโ

โพสต์โดย ประชาสัมพันธ์สภาเภสัชกรรม » 23 ต.ค. 2010, 09:52

สมาชิกชาวเภสัชกรทุกท่านครับ
ทุกท่าน..ล้วนเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ..ของวิชาชีพเภสัชกรรม..
และเป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งของสภาเภสัชกรรมนะครับ..

สภาเภสัชกรรม..มาจาก..ทุกท่านครับ..
มาทำหน้าที่..เป็นผู้แทน..ของ....ทุกท่าน..ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ประชาสัมพันธ์สภาเภสัชกรรม
 
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2010, 14:43

ย้อนกลับ

ย้อนกลับไปยัง เอสเปรสโซ่

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document