New Document









โครงการผู้บริโภคปลอดภัย เภสัชกรไทยไม่แขวนป้าย

ห้องเภสัชกร

โครงการผู้บริโภคปลอดภัย เภสัชกรไทยไม่แขวนป้าย

โพสต์โดย เภสัชทุง » 07 ก.ค. 2010, 19:26

ด้วยแผนงานสร้างกลไกการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ได้จัดทำโครงการการเฝ้าระวังการมีเภสัชกรในร้านยา และได้ประชุมร่วมกับเครือข่ายที่เชิญมาร่วมในโครงการ ได้แก่ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน สภาเภสัชกรรม สสจ.สมุทรสงคราม/นครพนม/อุตรดิตถ์/สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 6 กค. 53 ผลการประชุม สรุปได้ดังนี้

1. เป้าหมายโครงการ มุ่งส่งเสริมการปฏิบัติตามจรรยาบรรณที่ดีของเภสัชกรซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติการในร้านยาให้ทำหน้าที่การประกอบวิชาชีพในร้านยาอย่างเคร่งครัด ไม่แขวนป้าย

2. กลยุทธ์โครงการ มุ่งสร้างความตระหนักของประชาชนให้ทราบสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับยาที่ปลอดภัยจากการส่งมอบของเภสัชกรในร้านยา มุ่งสร้างความตระหนักในจรรยาบรรณวิชาชีพของเภสัชกรที่ปฏิบัติหน้าที่ในร้านยา สร้างกลไกหรือรูปแบบระบบเฝ้าระวังการมีเภสัชกรในร้านยา โดยให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเภสัชกรในร้านยา ร่วมกับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ การส้งเสริมให้รางวัลเภสัชกรร้านยาที่มีจรรยาบรรณที่ดีและลงโทษเภสัชกรร้านยาที่กระทำผิดจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด

3. กิจกรรมการดำเนินโครงการในช่วง กค.-สค.53 จะสร้างกระแสความตระหนักถึงสิทธิการได้รับยาที่ปลอดภัยจากเภสัชกรของประชาชน โดยรวบรวมกรณีศึกษาที่ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการซื้อยาจากร้านขายยาที่ไม่มีเภสัชกรหรือเภสัชกรแขวนป้าย และจัดเวที แถลงข่าว กรณีศึกษาดังกล่าวแก่ผู้บริโภค สื่อมวลชน เพื่อให้ประชาชนทราบถึงบทบาทของเภสัชกรร้านยาในการส่งมอบยาที่ปลอดภัย รวมทั้งสิทธิของประชาชนในการไปรับบริการในร้านยาและการเข้าถึงยาที่ปลอดภัย

สำหรับกิจกรรมในระยะต่อไป หรือ ในปี 2554 จะสร้างกลไก หรือ รูปแบบการเฝ้าระวังการมีเภสัชกรในร้านยาที่ยั่งยืน โดยให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบเพื่อปกป้องสิทธิตนเอง และ กำกับการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ใน สสจ.และ อย. รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์การส่งเสริม ให้รางวัล เภสัชกรร้านยาที่มีจรรยาบรรณที่ดีหรือเป็นต้นแบบเภสัชกรร้านยา และ ลงโทษทางกฎหมายและจรรยาบรรณแก่เภสัชกรร้านยาที่กระทำผิดจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด เป็นมาตรฐานเดียวกัน


ดังนั้น เพื่อเตรียมข้อมูลในการจัดเวทีประชาชนที่ได้รับยาที่ไม่ปลอดภัยจากร้านยาที่ไม่มีเภสัชกร จึงขอให้ช่วยส่งกรณีศึกษาในจังหวัดที่ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการซื้อยาจากร้านยาที่เภสัชกรแขวนป้ายหรือร้านที่ไม่มีเภสัชกร มาที่ ภก.สมบัติ แก้วจินดา สมาคมเภสัชกรรมชุมชนฯ cpa_thailand@yahoo.com ภายในวันที่ 20 กค. 53 รายละเอียดดูได้ที่ http://203.157.176.5/attachfiles/file/p ... %B8%99.PDF




หากท่านมีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ ทั้งการรณรงค์ สร้างกระแส หรือ การสร้างกลไกตรวจสอบเฝ้าระวังการมีเภสัชกรในร้านยา หรือ ต้องการเสนอกลไกการเฝ้าระวังการมีเภสัชกรในร้านยาที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน สามารถแจ้งความจำนงเข้าร่วมโครงการ มาที่ผม prince_thung@yahoo.com หรือ สมาคมเภสัชกรรมชุมชนฯ cpa_thailand@yahoo.com ได้ครับ

แก้ไขล่าสุดโดย เภสัชทุง เมื่อ 01 ก.ย. 2010, 16:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57







Re: โครงการการเฝ้าระวังการมีเภสัชกรในร้านยา

โพสต์โดย blacksmithday » 07 ก.ค. 2010, 22:47

โครงการดีครับ แต่ ถามหน่อย โครงการนี้ "เล่นจริง เจ็บจริง หรือปล่าว" ไม่อยากให้เป็นมวยล้มต้มคนดูอ่ะครับ ถ้าทำได้จริงนะ สุดยอดมากเลยครับ เภสัชทุง น่าสนับสนุนโครงการดีๆแบบนี้ แล้วอีกเรื่องนึง ขย 2 เนี่ยเราจะปล่อยเขาไปเรื่อยๆเหรอ บางร้านเขาขายยามากกว่าเราอีกนะ
blacksmithday
 
โพสต์: 192
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2007, 19:21

Re: โครงการการเฝ้าระวังการมีเภสัชกรในร้านยา

โพสต์โดย wannee » 07 ก.ค. 2010, 23:18

รวมร้านพวกนี้ด้วยไหมคะ

- ร้านยาของเภสัชกรที่กลางวันมีญาติเฝ้าร้าน แล้วตอนเย็นเภสัชมาทำงาน

- อีกประเภทนึงก็คือ เภสัชกรที่เปิดร้านยาหลายร้าน แล้วมีเภสัชกรแค่บางเวลา ไม่ใช่ตลอดเวลาที่เปิดทำการก็ไม่น้อยนะคะ ซึ่งก็คงคล้ายกับแบบแรก
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: โครงการการเฝ้าระวังการมีเภสัชกรในร้านยา

โพสต์โดย เภสัชทุง » 08 ก.ค. 2010, 03:31

ขอตอบทั้งสองท่านแรกที่แสดงความเห็นครับ

ที่ประชุมได้ถกกันถึงบทเรียนความล้มเหลวจากการรณรงค์ตรวจสอบเภสัชกรร้านยา ของสภาเภสัชกรรม และ อย.ที่ผ่านมา พบว่า

1. เภสัชกรแขวนป้ายที่ทำผิดจรรยาบรรณ หลายคนรู้ว่า สิ่งที่ทำผิดจรรยาบรรณ หลายคนก็จะมีเหตุผลส่วนตัว จากการทำวิจัยของ สสจ.อุตรดิตถ์ จะให้เหตุผลว่า ระยะทางห่างไกล มีความเหนื่อยจากงานประจำ คิดว่า คนขายยาในร้านสามารถจ่ายยาได้อย่างปลอดภัย ฯลฯ

2. การตรวจสอบโดย อย./สสจ. และสภาเภสัชกรรม มีข้อจำกัดด้านกำลังคน ตรวจสอบไม่ทั่วถึง ลงโทษไม่เด็ดขาด ผู้บริหารในกระทรวงฯและจังหวัด ให้น้ำหนักปัญหาเภสัชกรแขวนป้ายในร้านยา น้อยกว่า ปัญหายาปลอม ยาผิดมาตรฐาน คลินิกเถื่อน

3. จังหวัดที่ดำเนินการตรวจสอบอย่างจริงจัง ได้รับผลกระทบจากกลุ่มเสียผลประโยชน์ มองว่า ทำไมจังหวัดอื่นไม่ทำ แล้วทำไมไม่จับ ขย.2 ร้านชำขายยา หรือ คลินิกพยาบาลฯ ที่มียาครอบครองหลายรายการบ้าง ทำไมทำพวกเดียวกันเอง จึงทำให้เจ็บตัว ไม่มี สสจ.ไหนอยากทำอย่างจริงจัง

ที่ประชุม จึงมองว่า หากเราทำกันเฉพาะวงวิชาชีพ ก็คงเจอปัญหาแบบเดิม สมควรให้คนนอกหรือประชาชน มาช่วยกันตรวจสอบและกระตุ้นการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ด้วย โดยต้องให้เขาเห็นว่า สิ่งที่เขาเสียประโยชน์จากการซื้อยาในร้านที่ไม่มีเภสัชกร ส่งผลต่อความปลอดภัยในการใช้ยาของเขาอย่างไร หากเรามีประชาชนมาช่วย จะทำให้เจ้าหน้าที่ไม่เจ็บตัวมาก

จึงนำมาสู่ที่มาของการรณรงค์ในช่วงแรกของโครงการ ที่ให้ประชาชนเห็นความจำเป็นของการมีเภสัชกรประจำในร้านยา ที่มีบทบาทในการส่งมอบยาที่ปลอดภัย โดยหากรณีศึกษาที่ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการซื้อยาในร้านที่ไม่มีเภสัชกรส่งมอบยา

จากนั้นจะช่วยกันคิดรูปแบบการตรวจสอบเฝ้าระวัง ซึ่งให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อลดข้อจำกัดด้านกำลังคนของเจ้าหน้าที่ ทังนี้ รูปแบบน่าจะมีหลายแบบ ยืดหยุ่นตามพื้นที่ โดยอาจใช้ IT มาช่วย เช่น http://www.yaandyou.net/ ที่มีการปัดหมุดร้านยา ให้ประชาชนทราบว่า ร้านนี้ต้องมีเภสัชกรประจำ

เป้าหมายการตรวจสอบ ยังไม่ได้สรุปครับ ที่เห็นตรงกัน คือ ร้านยาที่แขวนป้าย 100 % ควรถูกตรวจสอบอย่างจริงจัง บางท่านก็เสนอหลักการว่า ควรสร้างค่านิยม หากร้านยาเปิด ต้องมีเภสัชเมื่อนั้น คือ ตลอดเวลาทำการจริงๆ ไม่ใช่เวลาที่ระบุในใบอนุญาต หากเภสัชกรไม่อยู่ช่วงใด เคาน์เตอร์ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษต้องปิด ร้านยาที่เปิดใหม่ ให้เข้มงวดมากขึ้น

ส่วน ขย.2 และ คลินิกพยาบาลฯ อยู่นอกเหนือเป้าหมายของโครงการนี้ ที่เน้นจรรยาบรรณเภสัชกรร้านยา อย่างไรก็ตาม อย.ได้ออกแนวทางปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมายด้านยา (Compliance polocy) แจ้งทุกจังหวัดตั้งแต่ กพ.53 ซึ่งมีการกำหนดกรอบรายการยาที่ไม่ให้ ขย.2 ขาย เช่น ยาควบคุมพิเศษ ยาเบาหวาน ความดัน NSAIDs ยาปฏิชีวนะ ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ในรูปแบบนับเม็ด หรือ คลินิกพยาบาลฯ ขายยา ก็อยู่ใน CP นี้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม คงมีปัญหาในการกำกับดูแลการปฏิบัติตาม CP ของแต่ละจังหวัด

ดังนั้น จึงขอเชิญชวนมาร่วมกันเป็นเครือข่ายในการดำเนินการเพิ่มขึ้น ไม่ใช่เฉพาะจังหวัดหรือองค์กรที่เข้าร่วมประชุม คิดว่า โครงการนี้ น่าจะดำเนินการได้ต่อเนือง เพราะองค์กรขับเคลื่อน คือ แผนงาน กพย.ไม่ใช่หน่วยงานราชการ ได้รับงบสนับสนุนจาก สสส. จึงมีความคล่องตัวในการดำเนินการครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: โครงการการเฝ้าระวังการมีเภสัชกรในร้านยา

โพสต์โดย wannee » 08 ก.ค. 2010, 08:28

ดีใจที่มีโครงการอย่างนี้ค่ะ

เห็นด้วยว่าควรทำ

คนที่ออกมาบอกว่าเล่นพวกเดียวกัน ทำไมไม่ไปจัดการคนอื่นนั้น ก็เพราะตัวเองยังอยากจะใช้โอกาสหาประโยชน์ใส่ตัวต่อไป

ที่ถามคำถามข้างบนนั้น เป็นเพราะเห็นมีมากขึ้น หลายครั้งอาจดูดีว่าเป็นร้านเภสัชอยู่เอง แต่ถ้าพิจารณาให้ดีแล้ว เภสัชคนนั้น กำลังใช้โอกาสและจังหวะความเป็นวิชาชีพของตัวเอง หาประโยชน์ใส่ตัว โดย (ทำเป็น) compromise ว่าก็ชั้นมาอยู่จริงๆ เพียงแต่อยู่บางเวลาเท่านั้น ไปๆมาจะกลายเป็นว่าเมื่อก่อนเราว่าร้านยาทั่วไปว่าไม่สนับสนุนให้เภสัชมาอยู่ร้าน แค่แขวนป้ายก็พอ เค้าจะได้ขายยาของเค้าให้เต็มที่ แต่มายุคนี้ เภสัชจะเป็นซะเอง ประเด็นนี้น่ากลัวมากๆ และ ควรจะรีบตัดไฟแต่ต้นลม (ไม่รู้ว่ามันยังต้นลมอยู่หรือเปล่านะ)
ภาพประจำตัวสมาชิก
wannee
 
โพสต์: 187
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2007, 21:08

Re: โครงการการเฝ้าระวังการมีเภสัชกรในร้านยา

โพสต์โดย Barrios » 08 ก.ค. 2010, 11:26

2. การตรวจสอบโดย อย./สสจ. และสภาเภสัชกรรม มีข้อจำกัดด้านกำลังคน ตรวจสอบไม่ทั่วถึง ลงโทษไม่เด็ดขาด ผู้บริหารในกระทรวงฯและจังหวัด ให้น้ำหนักปัญหาเภสัชกรแขวนป้ายในร้านยา น้อยกว่า ปัญหายาปลอม ยาผิดมาตรฐาน คลินิกเถื่อน

3. จังหวัดที่ดำเนินการตรวจสอบอย่างจริงจัง ได้รับผลกระทบจากกลุ่มเสียผลประโยชน์ มองว่า ทำไมจังหวัดอื่นไม่ทำ แล้วทำไมไม่จับ ขย.2 ร้านชำขายยา หรือ คลินิกพยาบาลฯ ที่มียาครอบครองหลายรายการบ้าง ทำไมทำพวกเดียวกันเอง จึงทำให้เจ็บตัว ไม่มี สสจ.ไหนอยากทำอย่างจริงจัง
"อันนี้ผมยังยืนยันเรื่องที่เคยเสนอไว้คือการนำเงินจากค่าปรับของร้านที่ตรวจแล้วไม่มีเภสัชนำมาใช้จ้าง out-sauce จะแก้ปัญหาเรื่องกำลังคน งบประมาณ และยังสามารถแก้ปัญหาข้อ 3 ของเภสัชทุงได้อีกด้วย "
ภาพประจำตัวสมาชิก
Barrios
 
โพสต์: 714
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 08:41
ที่อยู่: ประเวศ กทม.

Re: โครงการการเฝ้าระวังการมีเภสัชกรในร้านยา

โพสต์โดย Barrios » 08 ก.ค. 2010, 12:49

ขอเพิ่มอีกซะหน่อย
ในเมื่อสภาสามารถเก็บค่าธรรมเนียมและมี จนทไปตรวจร้านยาคุณภาพได้ ก็น่าจะเก็บค่าธรรมเนียมในการตรวจร้านเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายจากร้านที่ตรวจไม่ผ่านได้นะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Barrios
 
โพสต์: 714
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 08:41
ที่อยู่: ประเวศ กทม.

Re: โครงการการเฝ้าระวังการมีเภสัชกรในร้านยา

โพสต์โดย ธวัชชัย วรรณสว่าง » 08 ก.ค. 2010, 13:49

แค่พวกเราช่วยกันเชียร์ ช่วยกันให้กำลังใจร้านยาที่มีเภสัชกรอยู่ปฏิบัติงานในร้านยาจริง ก็ดีใจมากแล้ว
ธวัชชัย วรรณสว่าง
 
โพสต์: 559
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 19:35

Re: โครงการการเฝ้าระวังการมีเภสัชกรในร้านยา

โพสต์โดย เภสัชทุง » 08 ก.ค. 2010, 18:11

ตอบคุณ Barrios

ขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็นครับ ยุทธศาสตร์ที่ให้ภาคประชาชาชนร่วมตรวจสอบชี้เป้า แจ้งเบาะแสร้านยาแขวนป้าย หรือ ให้เจ้าหน้าที่ของสมาคมเภสัชกรรมชุมชนฯ โทรเช็ค verify ผู้ปฏิบัติการร้านยาว่าอยู่หรือไม่ ก็คือการ outsource อย่างหนึ่ง

ส่วน incentive อาจต้องหางบต่างหาก เพราะค่าปรับการกระทำผิดตาม พรบ.ยา เป็นเงินรายได้แผ่นดิน กระทรวงการคลังยังไม่อนุญาตเอามาตั้งเป็นกองทุน แต่ผู้แจ้งเบาะแส จะได้รับเงินสินบน 15 % ของค่าปรับ ส่วนการตรวจร้านในกรณีปกติ จะไม่สามารถเก็บเงินค่าธรรมเนียมได้ ยกเว้นกรณีร้านยาคุณภาพ ที่เป็นการขอ accredit โดยสมัครใจ

สำหรับพี่ธวัชชัย เรื่องการให้รางวัลแก่เภสัชกรร้านยาที่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ ก็เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่จะใช้ควบคู่กับการลงโทษทางกฎหมายและจรรยาบรรณ แก่เภสัชกรผู้กระทำผิดครับ

ผมก็สนใจอยากหา IDOL ของเภสัชกรชุมชนเหมือนกัน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจที่ดีในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณแก่เภสัชกรรุ่นใหม่
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: โครงการการเฝ้าระวังการมีเภสัชกรในร้านยา

โพสต์โดย Barrios » 08 ก.ค. 2010, 18:50

เภสัชทุง เขียน:
ส่วน incentive อาจต้องหางบต่างหาก เพราะค่าปรับการกระทำผิดตาม พรบ.ยา เป็นเงินรายได้แผ่นดิน กระทรวงการคลังยังไม่อนุญาตเอามาตั้งเป็นกองทุน แต่ผู้แจ้งเบาะแส จะได้รับเงินสินบน 15 % ของค่าปรับ ส่วนการตรวจร้านในกรณีปกติ จะไม่สามารถเก็บเงินค่าธรรมเนียมได้ ยกเว้นกรณีร้านยาคุณภาพ ที่เป็นการขอ accredit โดยสมัครใจ

เรื่องส่งเงินเข้าคลังก็มีคนมาชี้แจงแล้ว แล้วผมก็เคยรับราชการ เข้าใจเรื่องงบ เรื่องกระเป๋าซ้าย-ขวา เป็นอย่างดี

ถ้าเราเลี่ยงคำว่าค่าปรับ ค่าตรวจร้าน เป็นคำอื่น ๆ จะได้มั้ย เช่นที่สภาทำ คือค่าจัดอบรมเภสัชที่มาคุมร้าน, ค่าออกใบรับรองอะไรซักอย่าง, ค่าเอกสารชื้แจงเรื่องมาตรฐานร้านยา บังคับขายเภสัชที่คุมร้าน

ถ้าปรับเจ้าของร้านไม่ได้ เรียกเอาจากเภสัชได้มั้ยครับโดยอาศัยข้อบังคับจากทางสภา ในเมื่อสภามีสิทธิพักและเพิกถอนใบอนุญาตอยู่แล้ว น่าจะมีอำนาจปรับเภสัชได้ ร้านไหนตรวจไม่เจอครั้งแรกเรียกเภสัชมาเืตือน ขอค่าปรัีบหรือค่าธรรมเนียมการตรวจครั้งต่อไป ดีกว่านั่งอบรมเรื่องจริยธรรมกันอย่างเดียว แล้วเอาเงินมาลงงบโฆษณา ในส่วนขอสภาเรายังต้องส่งเงินเข้าคลังอีกหรือไม่

หลักก็คือต้องเก็บเงินจากคนที่ทำผิดเอามาจัดการกับคนผิด ไม่ใช่เอาเงินคนทำถูกมาจัดการกับคนผิด

ถึงจะมีคนแจ้งเบาะแส แต่คนตรวจก็ยังเป็น อย. หรือ สสจ. อยู่ดี คงไม่สามารถลดปัญหาเรื่อง conflict, เรื่องเภสัชตรวจกันเอง และเรื่องความปลอดภัยของ จนท. ในพื้นที่ได้

เรื่องนี้คุยกันนะครับ ช่วยกันเสนอ ผมยังเห็นด้วยกับโครงการนี้ แล้วผมไม่ได้รั้นว่าจะต้องทำแบบที่ผมว่าให้ได้ :ugeek:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Barrios
 
โพสต์: 714
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 08:41
ที่อยู่: ประเวศ กทม.

Re: โครงการการเฝ้าระวังการมีเภสัชกรในร้านยา

โพสต์โดย เภสัชทุง » 08 ก.ค. 2010, 19:28

เรื่อง รูปแบบวิธีการบริหารงบในการตรวจสอบเฝ้าระวัง คงต้องคุยกันอีกครั้งครับว่า สภาเภสัชจะทำได้หรือไม่

ตามหลักแล้ว ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเฝ้าระวังที่เรียกเก็บ หรือ การตั้งกองทุน ต้องออกเป็นข้อบังคับ ที่ผ่านรัฐมนตรีลงนาม

แต่อาจมีทางออกตรง ที่ อย.มีกองทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ซึ่งจังหวัดที่ปรับแล้ว จะส่งเงิน 15 % ของค่าปรับให้ อย.ตามระเบียบฯ

ดังนั้น หากประสานกับ อย. จะได้เงินตรงนี้มาเป็นกองทุนในการดำเนินงาน แต่ อย.อาจมีเงื่อนไข ให้ใช้ได้เท่าที่ส่งมา ห้ามใช้เกิน

ส่วนเงินที่เก็บจากผู้กระทำผิด ยิ่งต้องมีกฎหมายรองรับ เพราะเป็นเรื่องการให้โทษ หากทำไม่ถูกต้อง เสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง

ส่วนผู้ตรวจจับเภสัชแขวนป้าย คงต้องได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ.ยา หรือ พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม เพื่อให้มีอำนาจในการตรวจสอบ ทำหลักฐาน ยึด อายัด ของกลางตามกฎหมาย เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองในการทำหน้าที่

คิดว่า ประเด็นนี้คงได้หารือในวันที่ 3 สค. ที่จะประชุมอีกครั้ง

ส่วนทีเร่งด่วนตอนนี้ คงเป็นเรื่อง หากรณีศึกษาเจ๋งๆ ที่ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการซื้อยาร้านหมอตี๋ หรือ ร้านยาเภสัชแขวนป้าย ที่ต้องเร่งรวบรวมภายในวันที่ 20 กค. ครับ เพื่อใช้ในการจัดเวทีผู้บริโภค
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: โครงการการเฝ้าระวังการมีเภสัชกรในร้านยา

โพสต์โดย Barrios » 09 ก.ค. 2010, 10:07

เภสัชทุง เขียน: เรื่อง รูปแบบวิธีการบริหารงบในการตรวจสอบเฝ้าระวัง

ขอบคุณครับ จะได้เข้าใจซะทีว่ามันไม่ง่าย :biggrin:
กรณีศึกษาแถวร้านผมยังหาเจ๋ง ๆ ไม่ได้ สงสัยอยู่ในกลางเมืองจัด
ภาพประจำตัวสมาชิก
Barrios
 
โพสต์: 714
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 08:41
ที่อยู่: ประเวศ กทม.

Re: โครงการการเฝ้าระวังการมีเภสัชกรในร้านยา

โพสต์โดย Ham bun » 09 ก.ค. 2010, 11:44

เพื่อน้องๆ เด็กๆ บุคคลต้นทุนทางชีวิตน้อย
ขอผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือด้วย

ช่วยให้พวกเราสามารถทำ Part Time หารายได้เพิ่มเติมได้ โดยที่ยังได้ 5000 เหมือนกับคนอื่นๆ
โดยอาจจะเปลี่ยนชื่อเงินไม่ทำเวช เป็นเงินอื่นๆแทน

เราจะได้ไม่ต้องไปแขวนป้าย เพราะเวรใน รพ ไม่เพียงพอต่อภาระหนี้สินที่มีอยู่ ไม่พอเลี้ยงครอบครัว
เงินที่จะเปิดร้านยาก็มีไม่เพียงพอ


พวกท่านคงไม่อยากเห็นเพื่อนร่วมวิชาชีพต้องตกระกำลำบากทั้งที่พวกเขาขยัน ใช้แรงกายแรงใจ
ทำมาหากินเพิ่มเติม ใช่มั้ย
Ham bun
 
โพสต์: 63
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 02:16

Re: โครงการการเฝ้าระวังการมีเภสัชกรในร้านยา

โพสต์โดย เภสัชทุง » 10 ก.ค. 2010, 02:15

Ham bun เขียน:เพื่อน้องๆ เด็กๆ บุคคลต้นทุนทางชีวิตน้อย
ขอผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือด้วย

ช่วยให้พวกเราสามารถทำ Part Time หารายได้เพิ่มเติมได้ โดยที่ยังได้ 5000 เหมือนกับคนอื่นๆ
โดยอาจจะเปลี่ยนชื่อเงินไม่ทำเวช เป็นเงินอื่นๆแทน

เราจะได้ไม่ต้องไปแขวนป้าย เพราะเวรใน รพ ไม่เพียงพอต่อภาระหนี้สินที่มีอยู่ ไม่พอเลี้ยงครอบครัว
เงินที่จะเปิดร้านยาก็มีไม่เพียงพอ


พวกท่านคงไม่อยากเห็นเพื่อนร่วมวิชาชีพต้องตกระกำลำบากทั้งที่พวกเขาขยัน ใช้แรงกายแรงใจ
ทำมาหากินเพิ่มเติม ใช่มั้ย


อ่านแล้วสับสนครับ เพราะแจ้งว่า ขยันทำมาหากินเพิ่มเติม

แสดงว่า คุณคงไม่ได้แขวนป้าย เพราะไปอยู่ร้านหารายได้เพิ่มจากค่าเวร

แต่เขียนว่า แขวนป้าย และอยากได้เงิน 5,000 อีก

คิดว่า คงต้องเลือกครับ หากไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ออกจากผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ไปรับเงินไม่ทำเวชฯ สิครับ

แต่โครงการนี้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ไปเรียกร้องค่าตอบแทนเพิ่มครับ

แต่มุ่งเรียกร้องจรรยาบรรณที่ขาดหายไปของเภสัชกรมากกว่าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: โครงการการเฝ้าระวังการมีเภสัชกรในร้านยา

โพสต์โดย เภสัชทุง » 10 ก.ค. 2010, 02:40

ได้รับแจ้งจากพี่สมบัติ ว่า ตอนนี้ ได้กรณีศึกษามามากพอสมควร พี่คฑาได้เสนอว่า น่าจะพิมพ์รวมเล่มเพื่อเผยแพร่ครับ

ตัวอย่างที่แนบมานี้ เป็นของ ภก.ภิญโญ ร้านยาที่ขอนแก่น ได้สรุปความเสี่ยงจากการที่ไม่ได้ไปซื้อยาจากร้านยาที่มีเภสัชกรไว้ 10 ข้อ น่าสนใจครับ

ส่วนในเครือข่ายต่อต้านการกระทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรมใน facebook ก็ได้จัดทำโครงการร้านยาปลอดภัย เพื่อส่งเสริมบทบาทของเภสัชกรร้านยาในการส่งมอบยาแก่ประชาชนครับ ลองไปดูได้ที่ http://www.facebook.com/topic.php?uid=1 ... &topic=133

ซึ่งโครงการนี้ ก็มีแผนจะประสานเครือข่ายวิชาชีพในเว็บไซต์หรือ facebook ที่มีวัตถุประสงค์การดำเนินการที่สอดรับกันครับ
แนบไฟล์
กรณีศึกษา_ภก.ภิญโญขอนแก่น.doc
(42 KiB) ดาวน์โหลด 2813 ครั้ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

ต่อไป

ย้อนกลับไปยัง เอสเปรสโซ่

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document