New Document









นายแพทย์-โรงพยาบาล ช็อก !พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการส

ห้องเภสัชกร

นายแพทย์-โรงพยาบาล ช็อก !พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการส

โพสต์โดย sptani » 04 ก.ค. 2010, 18:00

ช่วยกันอ่าน และแสดงความคิดเห็นหน่อยครับ
เรื่องใกล้ตัวจริงๆ

http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... =00&catid=


"หมอ-รพ."ช็อก ! กม.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสธ. ลากหมอติดคุก-จ่ายค่าสินไหม โทษแรงกว่าในสหรัฐ

นายแพทย์-โรงพยาบาล ช็อก !พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข ลากหมอติดคุก-จ่ายสินไหม เลิกปรองดอง โทษแรงกว่าในสหรัฐ



ผู้สื่อข่าว"มติชนออนไลน์" รายงานว่า เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา ในคอลัมน์ ถามตอบกับมีชัย ในเว็บไซต์ www.meechaithailand.com ของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตประธานวุฒิสมาชิก ได้มีผู้ใช้นามแฝงว่า "หมอใต้ผู้ร่วมชะตากรรม " ได้ถามปัญหาข้อกฎหมายเรื่อง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ฉบับที่ผู้เสียหายเป็นผู้ร่าง


"หมอใต้ผู้ร่วมชะตากรรม " เปิดประเด็นว่า เมื่อไม่นานมานี้ ได้ไปประชุมที่ส่วนกลาง ไปเห็น ร่าง พ.ร.บ.ฉบับหนึ่ง เมื่ออ่านแล้วตกใจ คิดว่าอาจารย์มีชัย คงเคยเห็น สาระสำคัญ มีดังนี้ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหาย จากการรับบริการ สาธารณสุข ฉบับ ที่ผู้เสีย หายเป็นผู้ร่าง ได้ผ่าน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 7 เมษายน 2553 และนำเข้าสู่สภา ผู้แทนราษฎร เมื่อเดือน พฤษภาคม 2553 แต่ยังไม่ถูกนำ มาพิจารณาเนื่องจากเกิด เหตุการณ์ไม่สงบทางการ เมืองใน กรุงเทพ เสียก่อน สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ คือ


1. สถานพยาบาล ที่ถูกร้อง ได้แก่ โรงพยาบาลของรัฐ ทุกแห่ง ทุกกระทรวง ทบวงกรม โรงพยาบาลเอกชน คลินิกเอกชน สถาน พยาบาล สถานีอนามัย (Lab และ ร้านขายยา น่าจะอยู่ใน ข่ายด้วย)


2. ผู้ให้บริการที่ถูกร้อง ได้ แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักเทคนิคการแพทย์ เภสัชกร และเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขอื่น ๆ


3. คณะกรรมการ มี 21 คน มี รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน กรรมการโดย ตำแหน่ง คือ ปลัด และอธิบดี หลายกระทรวง 6 คน ตัวแทน สถานพยาบาล 3 คน ตัวแทน NGO 8 คน ไม่มีตัวแทนสภาวิชาชีพ แม้แต่คนเดียว และ เลขาฯ คือ อธิบดีกรมสนับสนุน และ เจ้าหน้าที่ 3 คน


4. ตัดสินถูกผิด ชี้ขาด โดย เสียงข้างมาก ไม่เอาความเห็นด้านวิชาการมาร่วม พิจารณา


5. กองทุนเงินชดเชย มาจาก ?1. โอนมาจาก มาตรา 41 ของ สปสช. 2. สถานพยาบาลจ่ายสมทบ จะเพิ่มขึ้นอีกถ้าถูกร้องบ่อย 3. เงินอุดหนุนจากรัฐ บริหารโดย คณะกรรมการ 21 คน นี้


6. ผู้เสียหาย ขอเงินชดเชย ได้ ใน 3 ปี นับแต่วันที่รู้ ว่ามีผลเสียต่อร่างกายจาก การรักษา และขอได้อีกหลังจากนั้น ถ้าเกิด อาการใหม่ ไม่จำกัดครั้ง ใน 10 ปี


7. จ่ายเงินชดเชย ขั้นต้น ภายใน 7 วัน ขั้นต่อมา พิสูจน์ ถูกผิด และตัดสินแล้ว จ่ายใน 30 วัน


8. ถ้าผู้เสียหายพอใจ รับ เงิน และทำสัญญาประนี ประนอมยอมความ ถ้าไม่พอใจ มี 2 ทาง คือ อุทธรณ์ขอเงิน เพิ่ม ใน 30 วัน หรือ ฟ้องคดี อาญา แล้วขอรับเงินนี้ภาย หลังได้


9. ฟ้องคดีอาญา แล้วชนะ - ผู้ ร้อง จะได้ 1. เอาผู้ให้ บริการเข้าคุก 2. ได้เงิน สินไหมทดแทนทางแพ่ง


เอาหมอติดคุก แรงกว่า สหรัฐ


ขณะที่ผู้ถูกร้อง จะได้ 1. ติด คุก 2. จ่ายเงินสินไหมทดแทนทาง แพ่ง จำนวนมาก ?3. ถูกยึดใบ ประกอบวิชาชีพ ทำงานไม่ ได้ 4. ถูกให้ออกจาก ราชการ ผิดวินัยร้ายแรง ไม่มีบำเหน็จบำนาญ 5. เข้า รับราชการอีกไม่ได้ เพราะ เคยถูกตัดสินคดีอาญา ข้อ 3 , 4 และ 5 มีผล อัตโนมัติ จาก การถูกตัดสินคดีอาญาผู้แพ้คดีและครอบครัวจาก การถูกฟ้องคดีอาญาเพียง ครั้งเดียว ก็ล้มละลาย ทั้งชีวิต ใน ประเทศอินเดีย อังกฤษ อเมริกา และแคนนาดา ไม่มี การฟ้องคดีอาญาผู้ให้ บริการการรักษาช่วยชีวิต ผู้ป่วยมีเพียงฟ้องแพ่ง เท่านั้น


ร่างพ.ร.บ. ฉบับเต็ม เข้าดูได้ใน we b แพทย์สภา www.moph.go.th หรือ www.tmc.or.th ซึ่งจะมีฉบับร่างของ กระทรวงสาธารณสุขที่ทำมา 3 ปี รอเข้า ครม. ให้เปรียบ เทียบด้วย


" ..ผมในฐานะผู้ให้บริการอยู่ชนบทห่างไกลความเจริญ อยู่ด้วยความจริงใจต่อกันระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ มาด้วยดีมาตลอด เห็นอกเห็นใจกันอยู่ร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน...ถ้า พ.ร.บ. ฉบับนี้ผ่านบังคับใช้ ผมมิอาจคาดเดาเลยว่าความเป็นคนไทยที่เอื้ออารีต่อกันจะเป็นอย่างไร การมีความคุ้มครองผู้บริโภคนั้นเป็นสิ่งดีมาก แต่ควรเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย...ไม่เช่นนั้นจะเกิดมี พ.ร.บ..ฉบับผู้ให้บริการเป็นผู้ร่าง แล้วมันจะทะเลาะ ความปรองดองจะเกิดใด้อย่างไร....."


อาจารย์คิดว่าพอมีทางออกใดบ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย (ดูเหมือนว่าผู้ร่วมร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้มีอคติกับแพทย์และผู้ให้บริการมากเกินเหตุ) ประเทศไทย เรากำลังจะปรองดองกันน่าจะมีทางออกที่ยอมรับกันได้บ้าง


มีชัย แนะ สภาวิชาชีพ ผลึกกำลังสู้


นายมีชัย ตอบคำถาม ผู้ใช้นามแฝงว่า "หมอใต้ผู้ร่วมชะตากรรม " ว่า สำหรับร่างกฎหมายที่เล่ามานั้น ผมไม่เคยเห็น ฟังจากที่คุณหมอเล่ามาก็น่าเป็นห่วงไม่น้อย ทุกวันนี้คนไทยลอกเลียนแบบฝรั่งมามากขึ้นทุกวัน เมื่อลอกมาแล้วก็ทิ้งสิ่งดี ๆ ของคนไทย หรือบางทีก็เอามาแทนที่ความดีงามที่มีอยู่ แต่เวลาเอาของเขามานั้น ไม่ได้เอามาทั้งหมด หากแต่เอามาแต่เฉพาะส่วนที่คิดว่าตนจะได้รับประโยชน์ บ้านเมืองจึงเสื่อมโทรมลงทุกที


ที่สำคัญก็คือ เราไม่อาจพึ่งพาสภาได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะสภาก็มัวแต่ยุ่งกับการชิงไหวชิงพริบกันในทางการเมือง โดยไม่มีใครดูรายละเอียดของกฎหมายที่จะผ่านสภา ถ้าปล่อยไปเฉย ๆ กฎหมายก็คงออกมาอย่างที่ NGO บางกลุ่มต้องการ เพราะสภาอาจนึกว่าการเอาใจกลุ่มคนเหล่านั้นจะทำให้ดูดี และได้คะแนนเสียง


ดังนั้น ทางแก้ก็คือ สภาวิชาชีพทั้งหมด ควรจะหารือกันแล้วออกมาบอกว่าร่างกฎหมายนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างไรกับ สังคมในอนาคต และต้องทำในลักษณะผนึกกำลังกันให้เห็นว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ บางทีรัฐบาลและสภาอาจจะรอบคอบมากขึ้นก็ได้
sptani
 
โพสต์: 34
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2008, 06:51
ที่อยู่: Pattani







Re: นายแพทย์-โรงพยาบาล ช็อก !พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริ

โพสต์โดย blacksmithday » 04 ก.ค. 2010, 18:57

ถ้า พรบ นี้ถูกนำมาบังคับใช้จริงๆ ผลที่จะตามมาคือ
1. มีคนลาออกกันเต็ม
2. ระบบสาธารณสุขจะล่มสลายในไม่ช้า
3. เภสัชกรที่แขวนป้ายจะร้อนๆหนาวๆกันมากกว่านี้เพราะตัวเองไม่ได้ทำผิดเอง แต่ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วย
4. ค่าบริการระบบสาธารณสุขของเอกชนจะพุ่งสูงขึ้น
5. ผู้ป่วยใน รพ รัฐจะมากขึ้น แต่คนให้บริการจะน้อยลง
ุ6.รัฐจะแก้ไขด้วยการเพิ่มค่าตอบแทนเพื่อดึงให้คนอยู่มากขึ้น แต่จะอยุ่กันเรอะ
ึ สรุป ในความคิดเห็นผม ระบบสาธารณสุขนี้ก็ฟรี เงินเดือนก็ไม่ได้เยอะอาไรนักหนา ยังจะมาทำ HA อีก แค่นี้ก็จะแย่อยู่แล้ว พวกมึงยังเอา พรบ ปัญญาอ่อนมาบีบคอกูอีกเหรอ อย่าคิดนะว่ากกรูไม่กล้า อย่างมากกูก็ลาออกไปเล่นหุ้นโว้ย ไอ้นักการเมืองปัญญาเท่าเม็ดถั่ว
blacksmithday
 
โพสต์: 192
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2007, 19:21

Re: นายแพทย์-โรงพยาบาล ช็อก !พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริ

โพสต์โดย nukvomika » 04 ก.ค. 2010, 19:22

เราต้องช่วยกันแสดงความคิดเห็นคัดค้านอย่าเพิ่งให้ผ่านต้องเอากลับมากลั่นกรองหลายๆรอบโดยพี่ๆน้องๆสายการแพทย์ต้องเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น เภสัชท่านใดมีความรู้ทางด้านกฏหมายมาช่วยกันหาทางออกหน่อยครับ
nukvomika
 
โพสต์: 87
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 17:46

Re: นายแพทย์-โรงพยาบาล ช็อก !พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริ

โพสต์โดย namwanrx » 05 ก.ค. 2010, 17:45

ยังงัยการตัดสินคดีคงต้อวอ้างอิงตามหลักวิชาชีพและมาตรฐาน ไม่ใช่นั่งทางใน ใครจะอยากให้มันเป็นอย่างนั้น ทุกวันนี้ทำงานด้านสาธารณสุขของรัฐเราพยายามทำตามมาตรฐานวิชาชีพ แต่บุคลากรมีภาระงานมาก กรอบอัตรากำลังต่ำกว่า GIS จริงไหม รัฐบาลก็ไม่บรรจุข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขซึ่งจำเป็นมากๆๆ อย่างเช่นเภสัชกร เพื่อน ๆ ว่าจริงไหม จะให้เรารับภาระอย่างเดียวเลยหรือ
namwanrx
 
โพสต์: 150
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ต.ค. 2009, 23:14

Re: นายแพทย์-โรงพยาบาล ช็อก !พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริ

โพสต์โดย นิวัช » 08 ก.ค. 2010, 08:18

อันนี้ความเห็นของกรรมการสภานะครับ ขออนุญาตเอามา Post ให้อ่านกัน

"ไม่รู้ว่าแต่ละคนได้อ่านกฏหมายกันหรือยัง
สภาฯวิชาชีพทั้งหมดมีการประชุม แล้ว

ในส่วนของเภสัชเกี่ยวข้องน้อย เพราะเขาตีความว่าไม่ใช่สถานพยาบาลน่ะ

ในภาพรวมกฏหมายมีส่วนดีมากที เดียว
แต่ก็ถูกบิดเบือนไปให้เกิดความตระหนกอีก
เลยไปกันใหญ่"
ภาพประจำตัวสมาชิก
นิวัช
 
โพสต์: 2378
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2006, 12:02
ที่อยู่: นิวัชเภสัช

Re: นายแพทย์-โรงพยาบาล ช็อก !พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริ

โพสต์โดย sting19 » 08 ก.ค. 2010, 15:29

รอกรณีศึกษาครับ
ภาวนาไม่ให้เกิดครับ
sting19
 
โพสต์: 207
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2005, 14:53

Re: นายแพทย์-โรงพยาบาล ช็อก !พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริ

โพสต์โดย Barrios » 10 ก.ค. 2010, 16:13

NGOs ออกมาแล้ว บอกว่า ผู้ป่วยส่วนมากไม่ต้องการฟ้องอาญา แต่เนื่องจากอายุความคดีแพ่งมีอายุ 2 ปี เมื่อส่งเรื่องให้แพทยสภา มักจะถูกดึงเรื่องให้พ้นอายุความ จึงต้องแจ้งอาญาที่มีอายุความ 10 ปีแทน
ภาพประจำตัวสมาชิก
Barrios
 
โพสต์: 714
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 08:41
ที่อยู่: ประเวศ กทม.

Re: นายแพทย์-โรงพยาบาล ช็อก !พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริ

โพสต์โดย miguel » 11 ก.ค. 2010, 01:07

niwat เขียน:อันนี้ความเห็นของกรรมการสภานะครับ ขออนุญาตเอามา Post ให้อ่านกัน

"ไม่รู้ว่าแต่ละคนได้อ่านกฏหมายกันหรือยัง
สภาฯวิชาชีพทั้งหมดมีการประชุม แล้ว

ในส่วนของเภสัชเกี่ยวข้องน้อย เพราะเขาตีความว่าไม่ใช่สถานพยาบาลน่ะ

ในภาพรวมกฏหมายมีส่วนดีมากที เดียว
แต่ก็ถูกบิดเบือนไปให้เกิดความตระหนกอีก
เลยไปกันใหญ่"


พี่ครับ เภสัชที่อยุโรงพยาบาลไม่ใช่สถานพยาบาลหรอครับ :question:
miguel
 
โพสต์: 38
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 มี.ค. 2008, 22:20

Re: นายแพทย์-โรงพยาบาล ช็อก !พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริ

โพสต์โดย Barrios » 11 ก.ค. 2010, 12:20

เผื่อมีประโยชน์

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
?ผู้เสียหาย? หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขจากสถานพยาบาลตามพระราชบัญญัตินี้
?บริการสาธารณสุข? หมายความว่า บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งให้แก่บุคคล เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ
?สถานพยาบาล? หมายความว่า สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล สถานพยาบาลของรัฐ และของสภากาชาดไทย ทั้งนี้ ให้รวมถึงสถานบริการสาธารณสุขตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
--ขึ้นอยู่กับว่าคณะกรรมการจะกำหนดให้ร้านยาเป็นสถานพยาบาลหรือไม่

มาตรา ๕ บุคคลซึ่งเป็นผู้เสียหายย่อมได้รับความคุ้มครอง และมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยจากกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด

มาตรา ๖ บทบัญญัติในมาตรา ๕ มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ความเสียหายที่เกิดจากการดำเนินไปตามพยาธิสภาพของโรค ตามปกติธรรมดาของโรคนั้น
(๒) ความเสียหายซึ่งหลีกเลี่ยงมิได้จากการให้บริการสาธารณสุขตามมาตรฐานสภาวิชาชีพ
(๓) ความเสียหายที่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการรักษาแล้วไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติ

ทั้งนี้หลักเกณฑ์และวิธีการให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
--ความเสียหายมีหลายแบบ หลายระดับ ต้องคอยดูหลักเกณฑ์กันอีกที อย่างกรณี ultrasound แล้วไม่ได้บอกว่าลูกพิการ อันนี้เป็นไปตามพยาธิสภาพ คือพิการช่วยไม่ได้ แต่ทำไม ultrasound ไม่เห็น

มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า ?คณะกรรมการคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ประกอบด้วย
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ
(๒) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
(๓) ผู้แทนสถานพยาบาล จำนวนสามคน
(๔) ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพ จำนวนสามคน
(๕) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนหกคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ สื่อสารมวลชน การแพทย์และสาธารณสุข และด้านสิทธิมนุษยชน
การคัดเลือกกรรมการตาม(๓) (๔) และ(๕) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
---การคัดเลือกกรรมการ ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นกรรมการ หากแพทย์ หรือสภาวิชาชีพเป็นคนคัดเลือกคณะกรรมการ คงไม่เลือก NGOs หัวรุนแรงมาเป็นกรรมการ

มาตรา ๑๔ ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ คณะหนึ่งซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งประกอบด้วย
ประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์ และด้านคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ผู้แทนสถานพยาบาลจำนวนหนึ่งคน ผู้แทนผู้รับบริการจำนวนหนึ่งคน และให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งทั้งคณะมีจำนวนรวมกันไม่เกินเก้าคน

มาตรา ๑๕ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาและวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์ของผู้เสียหายที่ยื่นตามมาตรา ๔๑

(๒) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์และวิธีพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์
(๓) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
---ก็มีผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการแพทย์ เข้าร่วมวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์ อยู่แล้ว

มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือคณะอนุกรรมการ
มีอำนาจสั่งให้สถานพยาบาล ผู้เสียหายหรือทายาท บุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
ทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง หรือมาให้ถ้อยคำด้วยตนเอง หรือส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐาน
เพื่อประกอบการพิจารณาได้
สถานพยาบาลตามวรรคหนึ่ง ต้องส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐาน ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง

--ผู้ถูกร้องก็มีโอกาสไปชี้แจงได้ หากกรรมการสั่ง (ทำไมต้องรอกรรมการสั่ง ถ้ากรรมการไม่สั่งจะไปชี้แจงได้หรือไม่ ??? ให้เตรียมข้อมูลใน 7 วัน น้อยไปมั้ย)

สรุป ทั้งหมดขึ้นกับคณะกรรมการอุทธรณ์ว่าจะเป็นใคร กฎหมายลูกที่ตามมาจะเป็นอย่างไร
แต่ความเห็นส่วนตัวคิดว่าถ้ากรรมการถูกคัดเลือกโดยแพทย์ แพทยสภา ก็ไม่น่ากลัวเท่าไหร่คงเลือกกันมาเป็นอย่างดี ส่วนฐานความผิดที่ร้องเรียนได้ สำหรับคนที่ทำงานโดยไม่ประมาทก็ยังสามารถทำงานได้ต่อไปแต่ต้องระวังกันมากขึ้น (กลับกันยังสามารถคุ้มครองแพทย์ได้ตามมาตรา 6) การเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยร้องเรียนบ้างก็ดี ลองมองดูการให้บริการทางการแพทย์ที่มีการแข่งขัีน มีโฆษณากันเยอะ ๆ ดูแล้วจะเข้าใจ , อีกส่วนก็คือ พรบ.นี้พิจารณาเฉพาะในสถานพยาบาลกับผู้ประกอบวิชาชีพ ส่วนคนที่ไม่ได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพแล้วทำผิด ไม่รู้ว่าจะสังคายนาเอาโทษให้หนักกว่าเดิมหรือร้องเรียนเอากับใคร พิจารณาเร็วแบบนี้รึเปล่า (คือกับผู้ประกอบวิชาชีพนี่จะดูจริงจังมากฟ้องกันเอาเป็นเอาตาย กับพวกเถื่อน ฟ้องไปมันก็ไม่เงินจ่าย จะเอายังไงกับพวกนี้ดีล่ะ)

คนอื่นว่าอย่างไรครับ :razz:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Barrios
 
โพสต์: 714
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 08:41
ที่อยู่: ประเวศ กทม.


ย้อนกลับไปยัง เอสเปรสโซ่

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document