New Document









อัตราจ้างเภสัชกรที่ รพช????

ห้องเภสัชกร

Re: อัตราจ้างเภสัชกรที่ รพช????

โพสต์โดย Pharma_Name » 04 ก.ค. 2010, 08:48

อ่านแล้วก็รู้สึกเป็นห่วงอนาคตน้อง ๆ เภสัชกรที่เป็นเภสัชกรอัตราจ้าง (สิทธิประกันสังคม) จังเลย เพราะที่โรงพยาบาลของผมเขาก็คุย ๆ กันว่า ปีหน้า (เม.ย. 2554) ก็จะมีน้องใช้ทุนจบมาทำงานแล้ว ไม่รู้ทางโรงพยาบาลจะดูแลน้องเภสัชกรอัตราจ้างอย่างไร ในเมื่อน้องใช้ทุนที่จบมาจะได้ตำแน่งข้าราชการมาจากส่วนกลาง แล้วน้องอัตราจ้างเขาจะเลื่อนตำแหน่งให้รับราชการหรือไม่ แล้วถ้าน้องข้าราชการมาทำงาน ทางโรงพยาบาลจะมาดื้นรมให้กับน้อง ๆ อัตราจ้างอีกมั้ย อันนี้น่าสงสัย
Pharma_Name
 
โพสต์: 357
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ย. 2007, 09:29
ที่อยู่: Bangkok







Re: อัตราจ้างเภสัชกรที่ รพช????

โพสต์โดย shopper609 » 04 ก.ค. 2010, 15:02

นายปิงปอง เขียน:หัวข้อ: ข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขต้องการการแยกออกจาก กพ.เพราะอะไร-นพ.อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์....

...การแก้ไขปัญหาของการบริหารงานบุคคลนี้ อาจไม่จำเป็นที่กระทรวงสาธารณสุขต้องออกจากกพ. ถ้า กพ.สามารถปรับตัวแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ได้อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่

๑.พยาบาลและวิชาชีพอื่นที่เป็นลูกจ้างกว่า๑หมื่นตำแหน่ง ทุกคนได้รับการบรรจุ ทันที

๒.พยาบาลเทคนิคที่เรียนปรับวุฒิเป็นพยาบาลวิชาชีพได้รับเงินเดือนอย่างเป็น ธรรม ต้องไม่ถูกลดเงินเดือน

๓.ทุกสาขาวิชาชีพที่เป็นลูกจ้างรอตำแหน่งข้าราชการ ได้รับการบรรจุแต่งตั้งทุกคน
๔.แพทย์และสาขาวิชาชีพอื่นที่เรียนจบเฉพาะทาง เมื่อเรียนจบมีตำแหน่งบรรจุเป็นข้าราชการ ทันที

๕.เลิกพูดเรื่องอัตราส่วนแพทย์หรือวิชาชีพอื่นต่อจำนวนประชากร GISก็เลิกพูด ให้เทียบกับภาระงาน

๖.กพ.ควรเชิญผู้เชี่ยวชาญมาช่วยดูแลระบบบริหารงานบุคคลของกระทรวงสาธารณสุข เพราะกพ.ไม่เข้าใจระบบที่มีความซับซ้อนของกระทรวงสาธารณสุข

...หากกพ.ปรับตัวได้ กระทรวงสาธารณสุขก็ไม่จำเป็นต้องออกจากกพ. แต่หากปรับตัวไม่ได้ ก็เป็นความจำเป็นของกระทรวงสาธารณสุข ที่จะต้องขอออกจากการบริหารงานบุคคลของกพ.และการพัฒนาระบบราชการของกพร.

จากกระทู้ viewtopic.php?f=2&t=29555


ถ้าหากเราออกจาก กพ. ได้จริง มันก็เป็นทางหนึ่งมั้ยที่จะทำให้น้องๆ เพื่อนๆ ที่รอตำแหน่ง จะได้เป็นข้าราชการ
shopper609
 
โพสต์: 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 20:42

Re: อัตราจ้างเภสัชกรที่ รพช????

โพสต์โดย Sherlockophile » 16 ก.ค. 2010, 19:55

ขอถามสั้นๆง่ายๆว่า "ทำยังไงลูกจ้างเภสัชกรถึงจะได้บรรจุคับ" idea:
Sherlockophile
 
โพสต์: 72
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 มิ.ย. 2009, 21:59

Re: อัตราจ้างเภสัชกรที่ รพช????

โพสต์โดย namwanrx » 16 ก.ค. 2010, 23:04

ผู้ใหญ่ที่มีอำนาจตัดสินใจมาตอบน้องที
namwanrx
 
โพสต์: 150
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ต.ค. 2009, 23:14

Re: อัตราจ้างเภสัชกรที่ รพช????

โพสต์โดย ustapol » 17 ก.ค. 2010, 04:48

ถ้าตอบในทัศนะของผู้บริหาร เขาคงมองในเรื่องของงบประมาณ เพราะคนตั้งเป็นหมื่น จะต้องบรรจุพร้อมกัน รัฐจะเอางบมาจากไหน และมันก็ขัดแย้งกับมติ ครม ที่เคยมี ว่าจะไม่เพิ่มตำแหน่งข้าราชการ ที่สำคัญแล้ว เมื่อบรรจุน้องทุกวิชาชีพเป็นราชการแล้ว มันเป็นงบผูกพัน ไปจนกว่าน้องจะเกษียณ หลายหมื่นแล้วอยู่นะ ยากครับ ผมว่าลองหาลู่ทางใหม่ดูนะ บางทีการเป็นข้าราชการก็ไม่ใช่คำตอบของชีวิต
ustapol
 
โพสต์: 108
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 มี.ค. 2008, 12:12

Re: อัตราจ้างเภสัชกรที่ รพช????

โพสต์โดย blacksmithday » 17 ก.ค. 2010, 14:24

ถ้าตอบในทัศนะของผู้บริหาร เขาคงมองในเรื่องของงบประมาณ เพราะคนตั้งเป็นหมื่น จะต้องบรรจุพร้อมกัน รัฐจะเอางบมาจากไหน และมันก็ขัดแย้งกับมติ ครม ที่เคยมี ว่าจะไม่เพิ่มตำแหน่งข้าราชการ ที่สำคัญแล้ว เมื่อบรรจุน้องทุกวิชาชีพเป็นราชการแล้ว มันเป็นงบผูกพัน ไปจนกว่าน้องจะเกษียณ หลายหมื่นแล้วอยู่นะ ยากครับ ผมว่าลองหาลู่ทางใหม่ดูนะ บางทีการเป็นข้าราชการก็ไม่ใช่คำตอบของชีวิต


คุณพูดอย่างนี้ถูกครึ่งเดียวนะครับ เพราะอาไร เพราะที่น้องๆเขาเข้ามาอยู่ในระบบเป็นลูกจ้างกันก็เพื่ออาไร เพื่อรอบรรจุครับ ถ้าน้องเขาไม่ได้คิดอยากจะบรรจุเขาคงไม่มาหรอก เพราะระบบราชการไทย ห่วยแตกมาก เล่นพรรคพวก ใครมีก็ไปก่อน ผมเคยเจอมากับตัวเองแล้วครับ อันนี้ยืนยันได้เลย ถ้าน้องเขาไม่ได้หวังจะมาบรรจุ คงไม่มีคนโง่คนไหนมารับเงินเดือนน้อยๆแบบนี้หรอกครับ ถ้าจะไม่บรรจุก็ประกาศออกมาเลย ต่อไปนี้เลิกบรรจุแล้วนะ คนที่เข้ามาจะเป้นแค่ลูกจ้างไปตลอดจนอายุ 60 ปี ถ้ากล้าประกาศแบบนี้ได้คง ไม่มีใครมาทำงานแล้วครับ ในโรงพยาบาลคงมีแต่คนแก่ๆทำงานกันไปตามมีตามเกิด คงไม่มีใครมาให้โขกสับหรอกครับ
blacksmithday
 
โพสต์: 192
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2007, 19:21

Re: อัตราจ้างเภสัชกรที่ รพช????

โพสต์โดย Se7olution » 17 ก.ค. 2010, 16:05

มันเปนเรื่องที่ไม่ใช่ปัญหาของลุงๆ ป้าๆ เขาอะมั้ง เขาก็เลยไม่อยากเข้ามายุ่ง ให้ขนร่วง เขาไม่ได้มาเดือดร้อนด้วยกับเภสัชกรจบใหม่ และก็ไม่ได้นึกถึงอนาคตเภสัชกรไทย ว่ามันจะเดินขึ้น หรือ เดินลง แต่มีโอกาสที่กำลังจะเดินลงเรื่อยๆ ไม่งั้น มหาลัยเอกชน เขาคงไม่รีบเปิดหลักสูตรเภสัช หลายมหาลัยหรอก ทั้งๆที่ จบออกมา ก็มานั่งแหง่ว รอตำแหน่ง สงสัยวิชาชีพเรา คนทำงานจะเยอะเกินไป แต่คนที่งานจริงๆ สักกี่คน อยากเกิดก่อนนี้สัก 10 ปี จัง ใบประกอบก็ไม่ต้องสอบ จบมาก็เป็นข้าราช สบาย นี่ก็เปนอัตราจ้างมาจะครบ 2 ปี แระ ยังไม่มีวี่แวว อะไรเลย เงินเดือนก็ 9700 บาท เงินเดือนก็ไม่ขึ้น ข้าราชการจะได้ไหมก็ไม่รู้ ฮ่าๆ อนาคต(เภสัชกร)ช้าน น ทำได้แค่ปลง ปล่อยให้มันเป็นไปตามยะถากรรม เพราะเภสัชกรรุ่นใหม่ ไม่ค่อยจะมีสิทธิ มีเสียงมาก เหมือนความคิดของเด็ก กับ ผู้ใหญ่ ดังนั้น ผู้ใหญ่ มักถูกเสมอ
ปล. เข้าเวรหัวขวิด เพื่อเอาตังค่าเวรมาใช้รับประทาน ไม่งั้นก็อดตาย นั่งบ่นอยู่เนี่ยก็เข้าเวรอยู่ ฮ่าๆ
Se7olution
 
โพสต์: 54
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2009, 01:20

Re: อัตราจ้างเภสัชกรที่ รพช????

โพสต์โดย frankie8 » 18 ก.ค. 2010, 20:26

ustapol เขียน:ถ้าตอบในทัศนะของผู้บริหาร เขาคงมองในเรื่องของงบประมาณ เพราะคนตั้งเป็นหมื่น จะต้องบรรจุพร้อมกัน รัฐจะเอางบมาจากไหน และมันก็ขัดแย้งกับมติ ครม ที่เคยมี ว่าจะไม่เพิ่มตำแหน่งข้าราชการ ที่สำคัญแล้ว เมื่อบรรจุน้องทุกวิชาชีพเป็นราชการแล้ว มันเป็นงบผูกพัน ไปจนกว่าน้องจะเกษียณ หลายหมื่นแล้วอยู่นะ ยากครับ ผมว่าลองหาลู่ทางใหม่ดูนะ บางทีการเป็นข้าราชการก็ไม่ใช่คำตอบของชีวิต

พูดง่ายหนิครับ ในเมื่อคุณมีตำแหน่งแล้วมาลอยตัวเหนือปัญหา ถ้าข้าราชการไม่ใช่คำตอบของชีวิตคุณก็ลาออกจากราชการสิครับ ตำแหน่งจะได้ว่าง น้องๆที่เขารอบรรจุจะได้บรรจุถึงจะตำแหน่งเดียวก็เถอะ
Se7olution เขียน:มันเปนเรื่องที่ไม่ใช่ปัญหาของลุงๆ ป้าๆ เขาอะมั้ง เขาก็เลยไม่อยากเข้ามายุ่ง ให้ขนร่วง เขาไม่ได้มาเดือดร้อนด้วยกับเภสัชกรจบใหม่ และก็ไม่ได้นึกถึงอนาคตเภสัชกรไทย ว่ามันจะเดินขึ้น หรือ เดินลง แต่มีโอกาสที่กำลังจะเดินลงเรื่อยๆ ไม่งั้น มหาลัยเอกชน เขาคงไม่รีบเปิดหลักสูตรเภสัช หลายมหาลัยหรอก ทั้งๆที่ จบออกมา ก็มานั่งแหง่ว รอตำแหน่ง สงสัยวิชาชีพเรา คนทำงานจะเยอะเกินไป แต่คนที่งานจริงๆ สักกี่คน อยากเกิดก่อนนี้สัก 10 ปี จัง ใบประกอบก็ไม่ต้องสอบ จบมาก็เป็นข้าราช สบาย นี่ก็เปนอัตราจ้างมาจะครบ 2 ปี แระ ยังไม่มีวี่แวว อะไรเลย เงินเดือนก็ 9700 บาท เงินเดือนก็ไม่ขึ้น ข้าราชการจะได้ไหมก็ไม่รู้ ฮ่าๆ อนาคต(เภสัชกร)ช้าน น ทำได้แค่ปลง ปล่อยให้มันเป็นไปตามยะถากรรม เพราะเภสัชกรรุ่นใหม่ ไม่ค่อยจะมีสิทธิ มีเสียงมาก เหมือนความคิดของเด็ก กับ ผู้ใหญ่ ดังนั้น ผู้ใหญ่ มักถูกเสมอ
ปล. เข้าเวรหัวขวิด เพื่อเอาตังค่าเวรมาใช้รับประทาน ไม่งั้นก็อดตาย นั่งบ่นอยู่เนี่ยก็เข้าเวรอยู่ ฮ่าๆ

คนรุ่นก่อนๆเขาเป็นข้าราชการกันหมด ปัญหาไม่ได้เกิดทีตัวเขา เอาตัวรอดแล้ว รุ่นหลังๆจะเป็นยังไงก็ช่างหัวมัน รุ่นหลังๆหนิลำบากอ่านหนังสือสอบจะเป็นจะตาย สอบได้ก็ยังมารอบรรจุไม่รู้จะรอซักกี่ชาติ
blacksmithday เขียน:
ถ้าตอบในทัศนะของผู้บริหาร เขาคงมองในเรื่องของงบประมาณ เพราะคนตั้งเป็นหมื่น จะต้องบรรจุพร้อมกัน รัฐจะเอางบมาจากไหน และมันก็ขัดแย้งกับมติ ครม ที่เคยมี ว่าจะไม่เพิ่มตำแหน่งข้าราชการ ที่สำคัญแล้ว เมื่อบรรจุน้องทุกวิชาชีพเป็นราชการแล้ว มันเป็นงบผูกพัน ไปจนกว่าน้องจะเกษียณ หลายหมื่นแล้วอยู่นะ ยากครับ ผมว่าลองหาลู่ทางใหม่ดูนะ บางทีการเป็นข้าราชการก็ไม่ใช่คำตอบของชีวิต


คุณพูดอย่างนี้ถูกครึ่งเดียวนะครับ เพราะอาไร เพราะที่น้องๆเขาเข้ามาอยู่ในระบบเป็นลูกจ้างกันก็เพื่ออาไร เพื่อรอบรรจุครับ ถ้าน้องเขาไม่ได้คิดอยากจะบรรจุเขาคงไม่มาหรอก เพราะระบบราชการไทย ห่วยแตกมาก เล่นพรรคพวก ใครมีก็ไปก่อน ผมเคยเจอมากับตัวเองแล้วครับ อันนี้ยืนยันได้เลย ถ้าน้องเขาไม่ได้หวังจะมาบรรจุ คงไม่มีคนโง่คนไหนมารับเงินเดือนน้อยๆแบบนี้หรอกครับ ถ้าจะไม่บรรจุก็ประกาศออกมาเลย ต่อไปนี้เลิกบรรจุแล้วนะ คนที่เข้ามาจะเป้นแค่ลูกจ้างไปตลอดจนอายุ 60 ปี ถ้ากล้าประกาศแบบนี้ได้คง ไม่มีใครมาทำงานแล้วครับ ในโรงพยาบาลคงมีแต่คนแก่ๆทำงานกันไปตามมีตามเกิด คงไม่มีใครมาให้โขกสับหรอกครับ

เห็นด้วยครับ น่าจะประกาศไปเลย ต้นทุนค่าเสียโอกาสมันสูง คนที่รอบรรจุจะได้หาอย่างอื่นทำที่ได้ตังค์เยอะกว่า แลกกับสวัสดิการที่หายไปเมื่อไม่ได้บรรจุ
นักโทษสองคนมองออกไปนอกหน้าต่าง คนนึงเห็นดวงดาวอีกคนเห็นโคลนตม
ภาพประจำตัวสมาชิก
frankie8
 
โพสต์: 66
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 เม.ย. 2009, 23:26

Re: อัตราจ้างเภสัชกรที่ รพช????

โพสต์โดย นายปิงปอง » 19 ก.ค. 2010, 23:57

ถ้าอย่างนั้น ทุกคนที่อยากรับราชการฟังทางนี้

เราต้องร่วมกันผลักดัน พรบ สาธารณสุข และช่วยเหลือกันเองอย่างจริงจังเสียที มันไม่มีใครมาช่วยแล้วครับ

ไม่ต้องไปรอความหวังที่ไม่มีตัวตน ยังดีที่เราได้ทำอะไรลงไปจะดีกว่า อย่ามัวตอบกระทู้ มันไม่เห็นผล

เห็นมั้ยละครับ จะรอนานเท่าไร มันก็ไม่ได้คำตอบ

1. ร่วมกันส่งชื่อไป ตามที่แนบ File

2. ติดตามข่าว ถ้าไม่รู้จะดูที่ไหน ผมจะเอามาลงให้ดู

3. ถ้ากรรมการสภาทำอะไรไม่ได้ หรือไม่ได้มีข่าวอะไรคืบหน้ามาบอกกล่าวพวกกระผมบ้าง ก็อย่าทำงานอีกเลยครับ เสียเวลาเลือกเข้ามา


ตามเนื้อหานี้นะครับ
"เนื่องด้วยเป็นปัญหาของข้าราชการและบุคลกรสาธารณสุขทุกคน รวมทั้งเป็นปัญหาของคนไทยทั้งหมด จำเป็นต้องมีการปฏิรูปการสาธารณสุขของประเทศครั้งใหญ่ ในขั้นต้นจำเป็นต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างกำลังคนทางสาธารณสุข และระบบงบประมาณสาธารณสุข ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศและต่อผู้ทำงานให้ทำงานอย่างมีความสุขตามควร ขณะนี้มีแพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล นวก.สาธารณสุข ฯ กว่า 300 คน ได้อาสาช่วยกันรวมเป็นคณะทำงานเข้าชื่อเสนอกฎหมายปฏิรูปการสาธารณสุขอันจำเป็นเร่งด่วน ๓ ฉบับ คือ
๑ ร่าง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข พศ...
๒ ร่างพระราชบัญญัติ การจัดบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข พ.ศ.......
และ ๓ ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายอันเกี่ยวกับบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขบางฉบับที่ไม่เหมาะสมกับการบริหารราชการแผ่นดินในกาลปัจจุบัน พ.ศ. ....
โดยกฎหมายกำหนดให้คนไทยที่มีสิทธิเลือกตั้งได้ตามกฎหมาย จำนวน 10,000 คน โดยแนบสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านสามารถเข้าชื่อเสนอกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิของคนไทยและแนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญได้ ขณะนี้เพียง ๒ สัปดาห์ มีผู้เข้าชื่อแล้วกว่า 5 000 คนจากทุกภาคทั้งจากบุคลากรสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป คณะทำงานมีความมุ่งหมายรวบรวมผู้เข้าชื่อเกินกว่า 10,000 รายชื่อ และต้องการความเข้าใจทั่วกันว่าการทำงานครั้งนี้ ทำเพื่อประเทศชาติ" พญ.อรพรรณ์กล่าว พร้อมทั้งเชิญชวนให้ช่วยกันเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยแจ้ง ชื่อ สกุล โทรศัพท์ ที่อยู่ และ email. ไปที่ dr_orapuun @yahoo.com หรือโทรแจ้งที่ 083-2495151 ซึ่งจะต้องมีการกรอกแบบฟอร์มเสนอกฎหมาย และแนบหลักฐานประจำตัวประกอบด้วย หากประสงค์จะติดต่อกับคณะทำงาน สามารถติดต่อได้ที่ คณะทำงานเข้าชื่อเสนอกฎหมายปฏิรูปการสาธารณสุข (ข.สธ.) ทำการเฉพาะกิจ 136/6 ถ.กาญจนาภิเษก ขตทวีวัฒนา กทม. โทร. 086 9840098 patcharee_s52@hotmail.com , โทร 089 4249988 usah88@hotmail.com ,08302495151 dr_orapun@yahoo.com
แนบไฟล์
แบบฟอร์ม ขก.1.jpg
ส่งรายชื่อเข้าไปเพื่อร่วมกันผลักดัน พรบ. เข้า ครม. ครับ
นายปิงปอง
 
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2009, 00:44

Re: อัตราจ้างเภสัชกรที่ รพช????

โพสต์โดย นายปิงปอง » 20 ก.ค. 2010, 00:15

ผมมี ร่าง พรบ. ฉบับเต็มแต่ใหญ่มาก เลยไม่สามารถนำมาลงได้ เพื่อนๆคนไหนสนใจตาม link นี้นะครับ

http://www.thaitrl.org/index.php?option ... e&Itemid=1

เอาไปอ่านให้ตาแฉะเลย

และช่วยๆ กันผลัดกันนะครับ ถ้าคิดจะไม่เป็นลูกจ้างชั่วคราว ให้เค้าได้ใช้งาน

แต่เงินเดือนไม่ขึ้น ไม่ได้รางวัล โบนัส รางวัลตอบแทนความดี อะไรกับเค้า

ถ้าไม่คิดจะเติบโต ก็มีให้เลือกคือดักดาน
นายปิงปอง
 
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2009, 00:44

Re: อัตราจ้างเภสัชกรที่ รพช????

โพสต์โดย นายปิงปอง » 20 ก.ค. 2010, 00:20

ตอนนี้ได้รายชื่อเกือบ สองหมื่นชื่อแล้ว

เภสัชกรก็ช่วยๆกันด้วยนะครับ

ผมไม่ได้ตั้งตนเป็นแกนนำ แต่ผมทำเพื่อผลักดัน
นายปิงปอง
 
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2009, 00:44

Re: อัตราจ้างเภสัชกรที่ รพช????

โพสต์โดย นายปิงปอง » 20 ก.ค. 2010, 00:26

แง้มดูร่าง พรบ.ระเบียบข้าราชการสาธารณสุขฯ ฉบับตั้งไข่

คณะทำงานเสนอกฎหมายสาธารณสุข ที่มี พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ได้ยกร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุขเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นร่างกฎหมายฉบับ "ตั้งไข่" ที่จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขอีกหลายครั้ง และเป็นส่วนหนึ่งที่จะไปพูดคุยในเวทีสัมมนาของแพทยสภา ในวันที่ 17 มิย. ที่จะถึงนี้ เว็บไซต์ "เมดเทคทูเดย์" ได้สรุปสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ไว้ จึงขออนุญาตนำมาเสนอต่อให้ทราบ

คณะทำงานให้เหตุผลในการยกร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ว่า เนื่องจากข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุขในราชการกระทรวงสาธารณสุข มีลักษณะงานเป็นการประกอบวิชาชีพที่กระทำต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน ได้แก่การตรวจ การวินิจฉัย การรักษา การผ่าตัด การดมยาสลบ การปรุงยาจัดยา การส่งเสริมสุขภาพ และการอื่นที่กระทำต่อมนุษย์ เป็นงานที่มีระดับความยาก ตรากตรำ ซับซ้อน และผู้ทำงานมีความเสี่ยงต่ออันตรายจากเชื้อโรคและปัจจัยก่อโรคที่มากับผู้ป่วย เป็นงานที่มีเจตนามุ่งให้ผู้ป่วยหายหรือบรรเทาจากโรคภัยที่คุกคามและมุ่งหมายให้ประชาชนผู้รับบริการมีสุขภาพดี ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พระราชบัญญัติการพยาบาล เป็นต้น และมีหน้าที่ให้บริการสาธารณะของรัฐในด้านการแพทย์และการสาธารณสุขให้กับประชาชนอย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นงานอันสำคัญอันเป็นความมั่นคงพื้นฐานของสังคม มีลักษณะการทำงานต้องพร้อมบริการตลอดเวลาแก่ผู้ป่วยและประชาชนในกรณีฉุกเฉิน กรณีผู้ป่วยหนัก และกรณีประชาชนได้รับสาธารณภัยและภัยพิบัติ มีลักษณะการทำงานเป็นทีมการแพทย์และสาธารณสุขที่เกื้อหนุนอย่างไม่อาจขาดส่วนใดส่วนหนึ่งได้ และมีการทำงานที่มีความจำเพาะสูง มีการปฎิบัติงานเป็นเวรหมุนเวียนส่งต่องานตามรอบเวลาในแต่ละวัน เป็นการปฏิบัติงานที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย



ข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข มีตำแหน่งงานจำเพาะที่แตกต่างกับข้าราชการอื่นอย่างชัดเจน และจำเป็นต้องมีจำนวนที่เพียงพอในการให้บริการที่มีคุณภาพกับประชาชนทั้งประเทศ การบริหารกำลังคนด้านสาธารณสุขในปัจจุบัน ไม่สอดคล้องกับงานบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขอย่างมาก จึงจำเป็นต้องมีระเบียบการบริหารกำลังคนด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะ ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพของงานราชการด้านนี้ และประโยชน์สูงสุดของประชาชนและประเทศชาติ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้



ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีทั้งสิ้น ๑๔๐ มาตรา แบ่งออกเป็น ๑๓ หมวด ได้แก่หมวด ๑ คณะกรรมการข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุขหมวด ๒ บททั่วไป หมวด ๓ การจัดระเบียบข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข หมวด ๔ การกำหนดตำแหน่ง ฐานะวิชาชีพ และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง หมวด ๕ การสรรหา การบรรจุ และการแต่งตั้ง หมวด ๖ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบจริยธรรมข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข หมวด ๗ การสร้างขวัญกำลังใจการเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการและการคุ้มครองระบบคุณธรรม หมวด ๘ การรักษาจริยธรรมข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข หมวด ๙ วินัยและการรักษาวินัย หมวด ๑๐ การดำเนินการทางวินัย หมวด ๑๑ การออกจากราชการ หมวด ๑๒ การอุทธรณ์ และหมวด ๑๓ การร้องทุกข์


ในร่างมาตรา ๗ กำหนดให้มีคณะกรรมการข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุขคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า "ก.สธ." ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน (๒) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง (๓) รองปลัดกระทรวง อธิบดี รองอธิบดี เลขาธิการ รองเลขาธิการ ผู้ตรวจราชการกระทรวง ตามลำดับอาวุโส ไม่เกินสองคน เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง (๔) กรรมการข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุขผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่าแปดคนแต่ไม่เกินสิบคน โดยครึ่งหนึ่งเลือกจากข้าราชการบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการซึ่งเคยเป็นข้าราชการสาธารณสุขมาแล้วในตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดี ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และสาธารณสุข อีกครึ่งหนึ่งเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในการบริหารงานเป็นที่ประจักษ์ ต้องเป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมายมหาชน หรือด้านการบริหารจัดการภาครัฐ (๕) กรรมการข้าราชการสาธารณสุขข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุขจากการเลือกตั้ง ซึ่งเลือกจากข้าราชการสาธารณสุขประเภทวิชาชีพ และนักวิชาการที่มีฐานะวิชาชีพระดับชำนาญการพิเศษหรือเทียบเท่าขึ้นไป สายงานแพทย์จำนวนสองคน สายงานทันตแพทย์จำนวนสองคน (และ) สายงานเภสัชกรจำนวนสองคน สายงานพยาบาลจำนวนสองคน สายงานเทคนิคการแพทย์ รังสีเทคนิค กายภาพบำบัด นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ โภชนากร นักจิตวิทยา และสาขาเกี่ยวข้องกับการบำบัดรักษาและสนับสนุนการรักษาในสถานพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข จำนวนสองคน สายงานนักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการควบคุมโรค นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพนักวิชาการระบาดวิทยา และที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จำนวนสองคน รวมจำนวนสิบคน เป็นกรรมการ ทั้งนี้ จำนวนกรรมการที่ระบุไว้มีจำนวนมาก จึงอาจจะต้องมีการแก้ไขร่างมาตรานี้ใหม่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมยิ่งขึ้น)





สำหรับอำนาจหน้าที่ของ ก.สธ. ในร่างมาตรา 11 บัญญัติว่ามีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(๑) พิจารณากำหนดนโยบายเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคนในราชการกระทรวงสาธารณสุข

(๒) กำหนดตำแหน่ง จำนวนตำแหน่ง อันดับเงินเดือนของตำแหน่ง กรอบอัตรากำลัง ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่ง และคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบ ความจำเป็น ปริมาณ และคุณภาพของงาน รวมทั้งความมีประสิทธิภาพ และการประหยัด

(๓) ออกกฎ ก.สธ. ข้อบังคับ ระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ หรือมีมติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อกำหนดมาตรฐานการบริหารงานบุคคล วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และการพิจารณาตำแหน่ง เพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขและส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

(๔) กำกับ ดูแล ตรวจสอบ แนะนำและชี้แจงเพื่อให้กระทรวงสาธารณสุข และส่วนราชการกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือบุคคลใดๆ หรือให้ผู้แทนหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วนบริษัท ข้าราชการหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริง

(๕) ให้มีอำนาจออกระเบียบให้กระทรวงสาธารณสุข และส่วนราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข รายงานเกี่ยวกับ(การ)สรรหา การสอบแข่งขัน การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้าย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การดำเนินการทางวินัย ตลอดจนการรายงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งและของส่วนราชการกระทรวงสาธารณสุข การเปลี่ยนแปลงการใช้ตำแหน่ง และการปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข ข้าราชการหรือบุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริจมายัง ก.สธ.

(๖) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการบริหารงานบุคคลของข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข มาตรฐานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข และการจัดระบบราชการกระทรวงสาธารณสุข รวมตลอดทั้งการอบรมและพัฒนาข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข

(๗) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการปรับปรุงกระทรวง และส่วนราชการกระทรวงสาธารณสุข การจัดและการพัฒนาส่วนราชการและวิธีปฏิบัติราชการของข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข

(๘) รายงานนายกรัฐมนตรีในกรณีที่ปรากฏว่ากระทรวงสาธารณสุข และส่วนราชการ กระทรวงสาธารณสุข ไม่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ หรือปฏิบัติการโดยไม่เหมาะสม เพื่อนายกรัฐมนตรีจะได้พิจารณาและสั่งการต่อไป

(๙) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีในกรณีที่ค่าครองชีพเปลี่ยนแปลงไปมาก หรือการจัดสวัสดิการหรือประโยชน์เกื้อกูลสำหรับข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข ยังไม่เหมาะสม เพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาในอันที่จะปรับปรุงเงินเดือน เงินฐานะวิชาชีพ เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มพิเศษ เงินเพิ่มค่าครองชีพ สวัสดิการ หรือประโยชน์เกื้อกูลสำหรับข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม

(๑๐ ) กำหนดนโยบายและออกระเบียบเกี่ยวกับทุนของรัฐบาลเพื่อสนองความต้องการกำลังคนของกระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนการจัดสรรผู้รับทุนของรัฐบาลที่สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการในกระทรวงสาธารณสุขและส่วนราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข


(๑๑) ออกข้อบังคับหรือระเบียบเพื่อควบคุมดูแลข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข ที่ศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ รวมทั้งเพื่อควบคุมการศึกษา ความประพฤติ และการใช้จ่าย

(๑๒) พิจารณารับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบรรจุและการแต่งตั้งข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข และกำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับและระดับตำแหน่งที่ควรแต่งตั้ง

(๑๓) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

(๑๔) พิจารณาจำทำระบบทะเบียนประวัติการแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวันเดือนปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข

(๑๕) แตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่ ก.สธ. มอบหมาย

(๑๖)ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับ(ซึ่ง หรือ ตาม)พระราชบัญญัตินี้ มติของ กสฃ.สธ.ตามข้อนี้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
(๑๗) ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในมาตราอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้และกฎหมาย หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย





นอกจากนี้ในร่างมาตรา ๑๗ ยังกำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข เรียกโดยย่อว่า "สำนักงาน ก.สธ." โดยมีเลขาธิการ ก.สธ. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและบริหารราชการของสำนักงาน ก.สธ. ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี ซึ่งสำนักงาน ก.สธ. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑)เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของ ก.สธ. และ กจ.สธ. และดำเนินการตามที่ ก.สธ. หรือ กจ.สธ. มอบหมาย

(๒) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่กระทรวง กรม เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการและแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข

(๓) พัฒนา ส่งเสริม วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ระบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข

(๔) ติดตามและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของ ข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข

(๕) ดำเนินการเกี่ยวกับแผนกำลังคนของข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข

(๖) เป็นศูนย์กลางข้อมูลทรัพยากรบุคคลของข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข

(๗) จัดทำยุทธศาสตร์ ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของ ข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข

(๘) ส่งเสริม ประสานงาน เผยแพร่ ให้คำปรึกษาแนะนำ และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสำหรับทรัพยากรบุคคลข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข

(๙) ดำเนินการเกี่ยวกับทุนของกระทรวงสาธารณสุข ทุนรัฐบาลตามนโยบายและระเบียบของ ก.สธ. ตามมาตรา ๑๑ (๑๐ )

(๑๐) ดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลบุคลากรภาครัฐและนักเรียนทุนตามข้อบังคับหรือระเบียบของ ก.สธ. ตามมาตรา ๑๑ (๑๑)

(๑๑) ดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุขและการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน รวมทั้งระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่งสำหรับคุณวุฒิดังกล่าว

(๑๒) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาทะเบียนประวัติและการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข

(๑๓) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการสาธารณสุข เสนอต่อ ก.สธ. และคณะรัฐมนตรี

(๑๔) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือ ก.สธ. มอบหมาย



สิ่งที่น่าสนใจในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็คือ เรื่องเกี่ยวกับอัตราเงินเดือน เงินฐานะวิชาชีพ และเงินเพิ่มพิเศษ ซึ่งร่างมาตรา ๒๑ บัญญัติว่า อัตราเงินเดือน เงินฐานะวิชาชีพ และเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน เงินฐานะ วิชาชีพ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข โดยคำนึงถึงลักษณะงาน ความยากและความซับซ้อนของงาน ความขาดแคลน ความลำบากตรากตรำ ความเสี่ยงอันตราย และการดำรงตนอยู่ในจริยธรรมแห่งวิชาชีพได้อย่างมีเกียรติ และโดยเปรียบเทียบกับอัตราเงินที่รัฐจ่ายให้แก่ข้าราชการฝ่ายวิชาชีพทางกฎหมายและข้าราชการอื่นประกอบด้วย สำหรับข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งข้าราชการและบุคลากรสาธารณสุขตามตำแหน่งนั้น ขณะที่ร่างมาตรา ๒๒ บัญญัติว่าข้าราชการสาธารณสุขอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษหรือเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้ที่มีคุณวุฒิหรือความสามารถเป็นพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.สธ.กำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ในการกำหนดจำนวนเงินเพิ่มเป็นกรณีพิเศษตามวรรคหนึ่งให้คำนึงถึงลักษณะงานและการดำรงตนอยู่ในจริยธรรมแห่งวิชาชีพได้อย่างมีเกียรติโดยเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนที่รัฐจ่ายให้แก่ข้าราชการฝ่ายอื่นประกอบด้วย นอกจากนี้ในร่างมาตรา ๒๓ ยังระบุว่า ข้าราชการสาธารณสุขอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา



ในหมวด ๔ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่ง ฐานะวิชาชีพ และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ โดยในร่างมาตรา ๓๐ ได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข ออกเป็น ๕ ประเภทได้แก่ (ก) ตำแหน่งวิชาชีพบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข (ข) ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร (ค) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ (ง) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ทำหน้าที่วิจัย นิเทศก์ แนะนำวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข และ (จ) ตำแหน่งบุคลากรสาธารณสุข ประเภทสนับสนุนการสาธารณสุข ประเภททั่วไป และประเภทวิชาชีพเฉพาะอื่นๆ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามที่ ก.สธ.กำหนด ทั้งนี้ ก.สธ.จะกำหนดให้มีตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยจะให้มีชื่อตำแหน่งใดเทียบกับตำแหน่งตามวรรคหนึ่งก็ได้โดยให้กำหนดไว้ในกฎ ก.สธ.



อย่างไรก็ตาม ในร่างมาตรา ๓๑ กำหนดให้ตำแหน่งข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข มีฐานะวิชาชีพ ในระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ระดับผู้ทรงคุณวุฒิ และให้ข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข ตำแหน่งประเภททั่วไป มีฐานะงาน ในระดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน ระดับอาวุโส และระดับทักษะพิเศษ และตำแหน่งอื่น ทั้งนี้ตามที่ ก.สธ.กำหนด ทั้งนี้ การกำหนดระดับตำแหน่ง และการให้ได้รับเงินเดือน เงินฐานะวิชาชีพ และเงินประจำตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.สธ.ประกาศกำหนด รวมถึงการให้ข้าราชการสาธารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข มีฐานะวิชาชีพใด และการเลื่อนเป็นฐานะวิชาชีพใดต้องเป็นไปตามมาตรฐานฐานะวิชาชีพตามซึ่งผ่านการประเมิน ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความประพฤติด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ ประสบการณ์ คุณภาพการปฏิบัติงาน ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในด้านการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กสธ.กำหนด ถูกบัญญัติไว้ในร่างมาตรา ๓๒



ที่สำคัญร่างมาตรา ๓๓ บัญญัติว่า ตำแหน่งข้าราชการสารณสุขและบุคลากรสาธารณสุข จะให้มีในกระทรวงสาธารณสุข ส่วนราชการใด หน่วยงานใด ตำแหน่งใด จำนวนเท่าใด และต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งอย่างใด ให้เป็นไปตามที่ ก.สธ.กำหนด โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบ ความจำเป็น ปริมาณ และคุณภาพของงาน รวมทั้งความมีประสิทธิภาพ และการประหยัด



นอกเหนือจากร่างมาตราสำคัญๆในร่างกฎหมายฉบับนี้ ที่ "เมดเทคทูเดย์" นำมาเสนอให้ทราบแล้ว ยังมีประเด็นสำคัญๆ อื่นอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะนำมาเสนอให้ทราบในโอกาสต่อไป
นายปิงปอง
 
โพสต์: 18
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ส.ค. 2009, 00:44

Re: อัตราจ้างเภสัชกรที่ รพช????

โพสต์โดย beebee » 20 ก.ค. 2010, 22:08

คำว่าลูกจ้างนี่แหละค่ะที่โดนข้าราชการคนอื่นๆ เค้ามาพูดกรอกหูอยู่ทุกวี่วันว่าก็น้องเป็นลูกจ้าง ไปติดต่องานอะไรที่ฝ่ายบริหารก็บอกว่า ก็น้องอยู่ในตำแหน่งลูกจ้าง แม้กระทั่งพี่หัวหน้าเองก็ยังพูดว่า ก็น้องเป็นลูกจ้าง มันอัดอั้นตันใจนะ พี่ไม่เคยเข้าใจจิตใจของเราเลย ในโรงพยาบาลนี่ลูกจ้างดูเหมือนจะเป็นอีกชนชั้นนึงเลย แอบเซ็งและคิดจะลาออก แต่ด้วยความที่เราตั้งใจจะเข้ามาทำงานช่วยเหลือผู้ป่วยก็เลยทิ้งไปไม่ได้ อยากทำให้ดีที่สุด ตอนนี้คิดว่าการได้บรรจุเป็นข้าราชการถือเป็นของขวัญล้ำค่ามากๆ เชื่อว่าเภสัชลูกจ้างชั่วคราวคนอื่นๆก็คงจะเจอมาเหมือนกัน อยากให้ร่าง พรบ.ผ่านเร็วๆ
แก้ไขล่าสุดโดย beebee เมื่อ 28 ก.ค. 2010, 01:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
beebee
 
โพสต์: 140
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ค. 2008, 01:30

Re: อัตราจ้างเภสัชกรที่ รพช????

โพสต์โดย ustapol » 21 ก.ค. 2010, 06:49

มีแต่การใช้คารมเฉียดเฉียนกัน โดยไม่ฟังเหตุผล ผมก็บอกแล้ว มันเป็นข้อจำกัดของระบบราชการ ในการที่จะบรรจุใครซักคน ไม่ง่ายเลย ระเบียบมันเยอะมาก เขาต้องกันตำแหน่งให้แพทย์ และทันตแพทย์ ดูสิมีใครบ้างไหมที่เป็นแพทย์ ทันตแพทย์ลูกจ้าง ไม่มีหรอก ส่วนที่เหลือต้องตำแหน่งว่าง และการมีเมืองเข้าไปแทรกแซง ก.พ.ถึงจะได้ตำแหน่งมา บอกได้คำเดียวยาก ยังยืนยัน และก็ไม่ต้องมาบอกให้ผมลาออกนะ มันไม่เกี่ยวกัน แล้วถ้ามีตำแหน่งว่างคิดหรือ ว่าเขาจะจัดสรรให้เภสัชกร เขาให้ใครก็ได้ ที่ขึ้นระดับ 9 และ 10 และตอนเข้าเรียนมันก็มีคำตอบอยู่แล้ว ว่าไม่มีสัญญา หรือมีก็เป็นเพียงสัญญาฝ่ายเดียว หมายความว่า รัฐจะบรรจุหรือไม่ก็ได้ เราต้องสติให้ดี ดูข้อเท็จจริง ไม่ใช่ผมไม่อยากให้น้องได้บรรจุ ถ้าผมเป็นนายก ผมทำให้แล้ว เพราะนายกเป็นประธาน ก.พ.มีอำนาจที่จะสั่งบรรจุได้ หรือจัดสรรตำแหน่งเพิ่มได้ สำคัญที่สุดตอนนี้ประเทศไทยยังมีปัญหาที่ต้องแก้มากมาย นักการเมืองเขาไม่มายุ่งหรอก แม้กระทั่งการรวมตัวยื่น พรบ. สาสุขใหม่ หากนักการเมืองไม่เอาด้วย ก็หมดหวัง เพราะมันต้องผ่านการพิจารณาของ สส. และ สว. ถึงจะเป็นกฎหมายได้
ustapol
 
โพสต์: 108
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 มี.ค. 2008, 12:12

Re: อัตราจ้างเภสัชกรที่ รพช????

โพสต์โดย Phar35 » 21 ก.ค. 2010, 15:55

สมัยก่อนเภสัชจบมากรุ่นผมรับราชการครบ 2 ปีประมาณ 30 คนเท่านั้น ต่างจากสมัยนี้อยากเป็นข้าราชการกันมากขึ้น หมายความว่าเริ่มแย่งงานกันแล้วใช่หรือไม่
Phar35
 
โพสต์: 36
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ค. 2004, 08:17
ที่อยู่: สาธารณสุข

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง เอสเปรสโซ่

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document