New Document









กรณี "ความรับผิด" ของ "ผู้ให้บริการสาธารณสุข" ตาม PL Law

ห้องเภสัชกร

กรณี "ความรับผิด" ของ "ผู้ให้บริการสาธารณสุข" ตาม PL Law

โพสต์โดย นิติเภสัช2009 » 29 มิ.ย. 2009, 23:35

เรียน พี่น้องเภสัชกร

ก่อนอื่นต้องขอออกตัวว่าไม่ค่อยไข้มาอ่านกระทู้ในpharmacafeบ่อยนัก แต่ก็พอจะรับรู้ได้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของพวกเราชาวเภสัชฯ
ต่อกรณีต่างๆที่มีผลกระทบต่อพวกเรา ไม่ว่าจะเป็น กรณีค่าตอบแทน(ที่ได้ไม่เหมาะสม) ที่ตอนนี้ก็พยายามที่จะผลักและดันกันอยู่ เอาหละผมขอแชร์ประเด็นกับพี่ๆน้องๆ ดังนี้ครับ

สืบเนื่องจากกรณี "พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑" มีผลใช้บังคับแล้วเมื่อไม่นานมานี้ จนมีกระแสวิพากษ์และวิจารณ์กันในวงกว้าง ล่าสุดกลุ่มเครือข่ายที่ใช้ชื่อว่า "ภาคีวิชาชีพซึ่งดูแลผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขในประเทศไทย" อันประกอบด้วยแพทยสภา สภาการ พยาบาล ทันตแพทยสภา สภากายภาพบำบัด สภาเทคนิคการแพทย์ และสัตวแพทยสภา (ข้อสังเกตุ:ไม่มีสภาเภสัชกรรม ) ได้เคลื่อนไหว เข้าพบนายกรัฐมนตรี(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เมือ วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๒ เพื่อยื่นหนังสือให้ คณะกรรมการกฤษฎีกา วินิจฉัยในประเด็นว่า

ผู้ให้บริการสาธารณสุข (อาจเป็น แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักเทคนิคการแพทย์ และสัตวแพทย์) ซึ่งได้ผลิตยาหรือเครื่องมือแพทย์ขึ้นเพื่อนำมาใช้รักษาผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยจะต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑ หรือไม่

คณะกรรมการกฤษฎีกา วินิจฉัยว่า

"...ผู้ให้บริการสาธารณสุขซึ่งได้ผลิตยาและเครื่องมือแพทย์ขึ้นเพื่อนำมาใช้รักษาผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วย
เฉพาะรายที่ผ่านการตรวจรักษาของผู้ให้บริการสาธารณสุขไม่ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติ
ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยฯ.."

"...พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก
สินค้าที่ไม่ปลอดภัยฯ มีเจตนารมณ์ที่จะใช้บังคับกับสังหาริมทรัพย์ที่ได้ผลิตหรือนำเข้าเพื่อขาย.."


ข้อสังเกตุ จากคำวินิจฉัยจะเห็นได้ว่าผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมชุมชนจะต้องรับผิดตาม พรบ.นี้เต็มๆเพราะกฎหมายมุ่งเอาผิดกับ
สินค้าที่ได้ผลิตหรือนำเข้าเพื่อขาย ซึ่งการขายเป็นวัตถุประสงค์ของร้านยา หรือ "ร้านขายยา" โดยแท้ (งานนี้แพทย์และเพื่อนๆไม่โดนอีกแล้วครับ เพราะคำว่า คนไข้เฉพาะรายอีกแล้ว แต่เภสัชโดนเต็มๆ)

พี่ๆน้องมีความเห็นอย่างไรไหมครับ

ขอบคุณครับ
อ้วน
นิติเภสัช2009
 
โพสต์: 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2009, 22:32







Re: กรณี "ความรับผิด" ของ "ผู้ให้บริการสาธารณสุข" ตาม PL Law

โพสต์โดย kohboy » 30 มิ.ย. 2009, 08:18

นิติเภสัช2009 เขียน:คณะกรรมการกฤษฎีกา วินิจฉัยว่า

"...ผู้ให้บริการสาธารณสุขซึ่งได้ผลิตยาและเครื่องมือแพทย์ขึ้นเพื่อนำมาใช้รักษาผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วย
เฉพาะรายที่ผ่านการตรวจรักษาของผู้ให้บริการสาธารณสุข[b]ไม่ต้องรับผิด
ตามพระราชบัญญัติ
ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยฯ.."

"...พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก
สินค้าที่ไม่ปลอดภัยฯ มีเจตนารมณ์ที่จะใช้บังคับกับสังหาริมทรัพย์ที่ได้ผลิตหรือนำเข้าเพื่อขาย.."


ข้อสังเกตุ จากคำวินิจฉัยจะเห็นได้ว่าผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมชุมชนจะต้องรับผิดตาม พรบ.นี้เต็มๆเพราะกฎหมายมุ่งเอาผิดกับ
สินค้าที่ได้ผลิตหรือนำเข้าเพื่อขาย ซึ่งการขายเป็นวัตถุประสงค์ของร้านยา หรือ "ร้านขายยา" โดยแท้ (งานนี้แพทย์และเพื่อนๆไม่โดนอีกแล้วครับ เพราะคำว่า คนไข้เฉพาะรายอีกแล้ว แต่เภสัชโดนเต็มๆ)

พี่ๆน้องมีความเห็นอย่างไรไหมครับ

ขอบคุณครับ
อ้วน


ผมว่าน่าจะเข้าใจคลาดเคลื่อนแล้วครับ
เพราะ"คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา" หาได้เป็นกฎหมายที่บังคับใช้ไม่ เป็นแต่เพียงความเห็นไว้อ้างอิงเท่านั้น
ย้ำอีกครั้งหนึ่งครับว่า.."แค่อ้างอิง"
ขนาดกูรูด้านนี้ยังพูดทำนองนี้เลยครับที่..http://www.meechaithailand.com/ver1/?mo ... &id=022468

ผมว่าการสรุปว่า..." งานนี้แพทย์และเพื่อนๆไม่โดนอีกแล้วครับ แต่เภสัชโดนเต็มๆ " ...ตามกระทู้นี้ ไม่ถูกต้อง!








ปล.
ถ้าเป็นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั่นค่อยถือว่าเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องปฏิบัติตาม
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: กรณี "ความรับผิด" ของ "ผู้ให้บริการสาธารณสุข" ตาม PL Law

โพสต์โดย kohboy » 30 มิ.ย. 2009, 08:57

นิติเภสัช2009 เขียน:
ล่าสุดกลุ่มเครือข่ายที่ใช้ชื่อว่า [b]"ภาคีวิชาชีพซึ่งดูแลผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขในประเทศไทย"
อันประกอบด้วยแพทยสภา สภาการ พยาบาล ทันตแพทยสภา สภากายภาพบำบัด สภาเทคนิคการแพทย์ และสัตวแพทยสภา (ข้อสังเกตุ:ไม่มีสภาเภสัชกรรม ) ได้เคลื่อนไหว เข้าพบนายกรัฐมนตรี(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เมือ วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๒ เพื่อยื่นหนังสือให้ คณะกรรมการกฤษฎีกา วินิจฉัย...



ถ้าข่าวนี้เป็นจริง..น่าสนใจว่าเกิดอะไรขึ้น
(ข่าวนี้เจ้าของกระทู้ยกขึ้นมานะครับ ผมไม่ได้เป็นคนเริ่มกล่าวถึงข่าวนี้)


ที่ว่าน่าสนใจคือ.."ทำไมไม่มีสภาเภสัชกรรมไปร่วมด้วยกับเค้า?"
หรือว่า
-ไม่รู้เรื่อง
-ไม่เห็นความสำคัญ
-ไม่เคยคิดว่าเป็นหน้าที่
-รอก่อน
-ฯลฯ




ปล.
ยกข้อความของเจ้าของกระทู้มาอ้างอิงในประเด็นนี้ไว้ก่อน
ผมยังไม่หลงออกนอกกระทู้นะครับ
ยังติดตามเรื่องที่ผมให้ความเห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ใช่กฎหมาย ที่เป็นประเด็นหลักของหัวข้อกระทู้อยู่นะครับ
แก้ไขล่าสุดโดย kohboy เมื่อ 30 มิ.ย. 2009, 10:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: กรณี "ความรับผิด" ของ "ผู้ให้บริการสาธารณสุข" ตาม PL Law

โพสต์โดย kohboy » 30 มิ.ย. 2009, 09:15

ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย หมายถึง ลำดับฐานะความสูงต่ำของกฎหมาย มีความสำคัญในการตีความ
และการใช้กฎหมายบังคับ เพราะกฎหมายที่มีศักดิต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่ามิได้
ประโยชน์ของการจัดลำดับชั้นของกฎหมายตามศักดิ์มีมากในทางปฏิบัติ ในการแก้ไขเพิ่มเติม
หรือยกเลิกกฎหมายแม่บท เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การะทำโดยตรารัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
การยกเลิกพระราชกฤษฎีกา ก็ต้องตราพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่ จะออกกฎกระทรวงยกเลิกพระราชกฤษฎีกาไม่ได้
เป็นต้น

การจัดลำดับชั้นของกฎหมายมี ๗ ลำดับดังนี้
๑. รัฐธรรมนูญ
๒. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
๓. พระราชบัญญัติ
๔. พระราชกำหนด
๕. พระราชกฤษฎีกา
๖. กฎกระทรวง
๗. กฎหมายที่ตราโดยองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น


โดยที่..
..***๕. พระราชกฤษฎีกา***
พระราชกฤษฎีกา คือ กฎหมายที่ตราขึ้นโดย พระมหากษัตริย์ โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี

รายละเอียดศึกษาเพิ่มได้ที่...http://www.212cafe.com/freewebboard/vie ... law&id=233 ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: กรณี "ความรับผิด" ของ "ผู้ให้บริการสาธารณสุข" ตาม PL Law

โพสต์โดย kohboy » 30 มิ.ย. 2009, 09:19

พระราชบัญญัติ
คณะกรรมการกฤษฎีกา
พ.ศ. ๒๕๒๒

มาตรา ๗ คณะกรรมการกฤษฎีกามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือมติของคณะรัฐมนตรี
(๒) รับปรึกษาให้ความเห็นทางกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐหรือตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี หรือมติของคณะรัฐมนตรี
(๓) เสนอความเห็นและข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการให้มีกฎหมายหรือแก้ไขปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหมาย
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒)

มาตรา ๖๒ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) รับผิดชอบในงานธุรการของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย และศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย
(๒) พิจารณาและจัดทำร่างกฎหมายตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย และเสนอความเห็นเกี่ยวกับการให้มีหรือแก้ไขปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมาย
(๓) ช่วยเหลือและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการร่างกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐ
(๔) ให้ความเห็นหรือปฏิบัติงานอื่นอันเกี่ยวกับกฎหมายให้แก่หน่วยงานของรัฐ หรือตามที่รัฐบาลต่างประเทศหรือสถาบันระหว่างประเทศร้องขอ
(๕) ฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและเจ้าหน้าที่ของรัฐในด้านกฎหมายและการร่างกฎหมาย รวมทั้งการเผยแพร่ทำความเข้าใจในด้านกฎหมายแก่บุคคลทั่วไป
(๖) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาหลักกฎหมายและการบริหารราชการแผ่นดิน
(๗) จัดพิมพ์ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อเผยแพร่ เว้นแต่เรื่องที่เป็นความลับ
(๙) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลงานและอุปสรรคในการดำเนินงานของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการพัฒนากฎหมายเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
(๑๐) ศึกษาและรวบรวมข้อมูล รวมทั้งจัดให้ได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับระบบกฎหมายไทยและระบบกฎหมายต่างประเทศ และงานวิจัยกฎหมายหรือวิชาอื่นที่เกี่ยวกับกฎหมายทั้งของไทยและต่างประเทศเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติงานของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการพัฒนากฎหมายตามพระราชบัญญัตินี้
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒)


ตัวพ.ร.บ. โดยละเอียดทั้งฉบับ ดูได้ที่...http://www.pub-law.net/library/act_cos.html ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: กรณี "ความรับผิด" ของ "ผู้ให้บริการสาธารณสุข" ตาม PL Law

โพสต์โดย kohboy » 30 มิ.ย. 2009, 09:27

จากที่ผมยกมาให้เห็นทั้งสองข้อความข้างบน,
อาจกล่าวได้ว่า.."คณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้ช่วยให้กับหน่วยงานราชการ"
และย่อมกล่าวได้อีกครั้งว่า..
kohboy เขียน:...
"คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา" หาได้เป็นกฎหมายที่บังคับใช้ไม่ เป็นแต่เพียงความเห็นไว้อ้างอิงเท่านั้น
ย้ำอีกครั้งหนึ่งครับว่า.."แค่อ้างอิง"
...
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: กรณี "ความรับผิด" ของ "ผู้ให้บริการสาธารณสุข" ตาม PL Law

โพสต์โดย kohboy » 30 มิ.ย. 2009, 09:43

ผมพยายามหาลิ้งค์ที่เขียนอธิบายพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย แบบสั้นๆอ่านง่ายมาให้พวกเราได้ดูกัน
เจอแล้วครับ,
ที่...http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=1096









ปล.
ความเห็นจากผมก็ออกมาเยอะละ,
เดี๋ยวผมจะสรุปตามแนวทางของผมที่เกี่ยวกับกระทู้นี้นะครับ
(ถ้ามีผู้สนใจอยากให้สรุป)





".../รอดูเจตนาของผู้อ่านอยู่"
อิอิ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: กรณี "ความรับผิด" ของ "ผู้ให้บริการสาธารณสุข" ตาม PL Law

โพสต์โดย ruralphar » 30 มิ.ย. 2009, 10:10

รู้สึกจะเป็นมติของสภาเภสัชกรรมที่จะไม่เข้าร่วมการคัดค้านกับสภาวิชาชีพอื่นเรื่องนี้นะครับ(เคยเห็นในจดหมายข่าวของสภาเภสัชกรรม)
ไม่ใช่สภาจะไม่รู้เรื่องหรือไม่สนใจ คงจะมีเหตุผลอยู่นะ แต่ก็รู้สึกเหมือนกันว่าประโยคเฉพาะคนไข้ของตัวนี่มันเป็นยันต์สำหรับพวกหมอกับพยาบาลที่จะทำอะไรก็ได้จริงๆ
ruralphar
 
โพสต์: 146
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2007, 09:45

Re: กรณี "ความรับผิด" ของ "ผู้ให้บริการสาธารณสุข" ตาม PL Law

โพสต์โดย kohboy » 30 มิ.ย. 2009, 10:55

ruralphar เขียน:รู้สึกจะเป็นมติของสภาเภสัชกรรมที่จะไม่เข้าร่วมการคัดค้านกับสภาวิชาชีพอื่นเรื่องนี้นะครับ(เคยเห็นในจดหมายข่าวของสภาเภสัชกรรม)
ไม่ใช่สภาจะไม่รู้เรื่องหรือไม่สนใจ คงจะมีเหตุผลอยู่นะ แต่ก็รู้สึกเหมือนกันว่าประโยคเฉพาะคนไข้ของตัวนี่มันเป็นยันต์สำหรับพวกหมอกับพยาบาลที่จะทำอะไรก็ได้จริงๆ


ถ้าเหตุผลของสภาคือ...รอก่อน,
ผมว่าพอฟังได้ครับ

แต่!
ต้องดูว่า.."ทำไมต้องรอ"
และ.."รอไปจนถึงขนาดไหน ถึงจะออกแอ้คเชิ่นซะที" (อันนี้น่าจะมีอยู่ในมติ..ถ้าได้คิดกันไว้แล้ว,ถ้าไม่ได้คิดก็คิดกันบ้างก็จักเป็นพระคุณยิ่งครับ อิอิ)


อย่างไรก็ดี ถ้ามีลิ้งค์มติของสภาในเรื่องนี้ เอามมาแบ่งปันกันอ่านบ้างนะครับ ,ขอบคุณครับ





ปล.
เจ้าของกระทู้ที่มีชื่อไอดีเท่มั่กๆ เมื่อไหร่จะมาเขียนตอบผมซะทีเนี่ย?
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51

Re: กรณี "ความรับผิด" ของ "ผู้ให้บริการสาธารณสุข" ตาม PL Law

โพสต์โดย นิติเภสัช2009 » 30 มิ.ย. 2009, 15:16

ขอบคุณครับ สำหรับข้อคิดเห็นที่ร่วมแชร์กัน อยากฟังแนวคิดของคุณ kohboy ต่อครับ
อย่างไรก็ตามผมยังมีแนวคิดว่า แม้ความเห็นของกฤษฎีกา จะไม่ใช่ กม.แต่ก็ไม่น่าจะผิดหลัก
นะครับ(นักกฎหมายที่ให้ความเห็นในคณะนี้ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายทั้งสิ้น มีอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาด้วยหลายคน)

ขอบคุณครับ

อ้วน
นิติเภสัช2009
 
โพสต์: 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2009, 22:32

Re: กรณี "ความรับผิด" ของ "ผู้ให้บริการสาธารณสุข" ตาม PL Law

โพสต์โดย kohboy » 30 มิ.ย. 2009, 17:16

ขอบคุณที่สนใจครับ

เผอิญว่าวันก่อนมีการถกกันเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ แล้วผมเจออะไรบางอย่างที่ไม่น่าอภิรมย์ ผมเลยค่อยๆโพสท์ครับ
ทั้งๆที่ใจผมเองอะ ชอบถกเรื่องกฎหมายมากพอสมควร

กับเรื่องตามกระทู้นี้, ผมมีข้อสรุปแค่สองข้อสั้นๆ ดังนี้ครับ

๑. พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ครอบคลุมถึงทุกวิชาชีพครับ ไม่มียกเว้น
เพราะโดยหลักแล้ว กฎหมายใช้บังคับกับทุกคน กล่าวคือ ใครทำผิด ก็ต้องรับผิด
โดยการจะบอกว่าผิดหรือไม่ผิด อยู่ที่ศาล ครับ ไม่ใช่อยู่ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา ดังนั้นหากมีการฟ้องขึ้นมา ศาลก็จะวินิจฉัยไปตามตัวกฎหมาย ตัวผู้ประกอบวิชาชีพที่ถูกฟ้องอาจอ้างคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ แต่จะอ้างขึ้นหรือไม่ก็แล้วแต่ศาล (คือมีความเป็นไปได้ที่คณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยผิด เช่นที่เป็นข่าว และยังไม่จบเรื่องก็คือ เรื่องหวยบนดิน ไงครับ )

๒. ด้วยเหตุที่พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย มีเจตนารมณ์ที่จะปกป้องผู้บริโภค ซึงเป็นกฎหมายที่ให้คุณต่อประชาชนทุกคน, พวกเราชาวเภสัชกรไม่ควรที่จะเป็นกังวลหากตนเองได้กระทำการอย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักแห่งวิชาชีพ และอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ( พูดง่ายๆก็คือ "ถ้าทำดีซะอย่างไม่เห็นต้องไปกลัวอะไร")








..."ไปวาดรูปต่อดีกว่า..ชะแว้บ!"
ภาพประจำตัวสมาชิก
kohboy
 
โพสต์: 1437
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2006, 14:51


ย้อนกลับไปยัง เอสเปรสโซ่

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document