New Document









พรบ.ยาฉบับใหม่เข้าสนช.วันพุธนี้แล้ว

ห้องเภสัชกร

Re: พรบ.ยาฉบับใหม่เข้าสนช.วันพุธนี้แล้ว

โพสต์โดย iampharmacist » 09 พ.ย. 2007, 15:21

เข้ามาให้กำลังใจ
อยากช่วยครับผม ช่วยถือป้ายก็ยังดี........อิอิ
iampharmacist
 
โพสต์: 66
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 12:39







Re: พรบ.ยาฉบับใหม่เข้าสนช.วันพุธนี้แล้ว

โพสต์โดย เภสัชกรน้ำเค็ม » 09 พ.ย. 2007, 19:19

พยายามจับประเด็นที่เขียนอยู่นะครับ
ผมว่าคงต้องเตรียม 2 ส่วน
เรื่องเคลื่อนไหวก็เป็นสิทธิ

แต่เรื่องข้อมูล รายละเอียดต่างๆต้องมีด้วยนะครับ
อยากให้ส่งมาทางผมหรือทุงก็ได้นะครับ
ตอนนี้ไม่มีใครส่งข้อความมาเลย

มีเมล์พี่สุวัฒน์
แต่ผมอ่านไม่ออกครับ

ผมจะไปประชุม กทม.กับเภสัชกรทุง ยังไงฝากเภสัชกรทุงมาก็ได้นะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชกรน้ำเค็ม
 
โพสต์: 77
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ค. 2004, 23:05


Re: พรบ.ยาฉบับใหม่เข้าสนช.วันพุธนี้แล้ว

โพสต์โดย nitnit » 10 พ.ย. 2007, 14:08

Unicorn เขียน:ลองดูอีกความเห็นนึง
http://www.thaiphar-asso.com/index.php? ... &No=265541

ทุกวันนี้ ประชาชนสามารถเรียกร้องค่าเสียหายกับผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมได้อยู่แล้วตาม พรบ. วิชาชีพเภสัชกรรม
ถ้าผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมจ่ายยาตามหลักวิชาการก็คงไม่ต้องกลัวอะไร...เพราะเราทำตามหลักวิชาการ
แต่คนที่กลัวน่าจะเป็นพวกหมอตี๋..หรือ ขย. 2  ..มากกว่าครับ....เพราะในสมาคมฯมีทั้งร้านยาที่เป็นเภสัชกรและไม่ใช่เภสัชกร
เพราะฉะนั้นสมาคมร้านขายยา...อย่าได้แอบอ้างเภสัชกรเป็นอันขาด.....
เพราะเป็นหน้าที่ของเภสัชกร.....ที่ต้องคุ้มครองผู้บริโภค....และรับผิดชอบจากความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ประชาชนเรื่องยา
แต่จะจัดการอย่างไรคงเป็นหน้าที่ของสภาเภสัชกรรมที่จะบริหารจัดการเป็นการภายในวิชาชีพเอง.....
และที่สำคัญผู้ที่จ่ายยา(แพทย์ เภสัช พยาบาลฯ[b])[/b]ควรรับผิดหากเกิดความเสียหายไม่ควรระบุว่าเป็นร้านยาเพียงอย่างเดียว
แก้ไขล่าสุดโดย nitnit เมื่อ 11 พ.ย. 2007, 12:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
nitnit
 
โพสต์: 116
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2007, 11:44

Re: พรบ.ยาฉบับใหม่เข้าสนช.วันพุธนี้แล้ว

โพสต์โดย เภสัชทุง » 13 พ.ย. 2007, 15:26

ผมฝากชื่อที่อยู่คุณ capsicum และคุณ Epineprine ให้กรรมการสภาเภสัชกรรมเมื่อวานนี้ (12 พย.) แล้วครับ  ก็ขอให้ทั้งสองท่านรอการติดต่อกลับในรายละเอียดการมีส่วนร่วมกิบกิจกรรมของสภาเภสัชกรรม

ในส่วนของร่าง พรบ.ยา ที่เสนอเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันพุธที่ 7 พย. นั้น ทราบว่า เป็นร่างที่กรรมาธิการได้รวบรวมจากร่างของ อย. และ ร่าง พรบ.ยาฉบับประชาชน เพื่อแก้ไขเร่งด่วน 15 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเภสัชร้านยาที่กำลังเป็นห่วง คือ มาตรา 6  ซึ่งส่วนที่แตกต่างจาก พรบ.ยาฉบับปัจจุบัน คือ การแบ่งบรรจุยาที่ได้ขึ้นทะเบียน ซึ่งให้ แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ เภสัชกร พยาบาล หรือ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาอื่นทำการแบ่งบรรจุยาฯ และสามารถขายยาที่แบ่งบรรจุแก่คนไข้ของตน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง สำหรับพยาบาล และผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาอื่น ให้ขายได้เฉพาะรายการที่ รมต.กำหนด

จากการตรวจสอบ สาระสำคัญตามมาตรา 6 ของร่าง พรบ.ยา ฯ ดังกล่าว เป็นส่วนที่ อย.ได้เสนอ ซึ่งตาม ร่าง พรบ.ยา ฉบับประชาชน ไม่มีเสนอประเด็นดังกล่าว เพราะมองว่า การแบ่งบรรจุถือเป็นการผลิต ซึ่งต้องมีการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งไม่เห็นด้วยกับการนิยามยาที่จ่ายโดยผู้ประกอบวิชาชีพ

และขณะนี้ ก็มีการพิจารณาร่าง พรบ.ยาทั้งฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทุกวันจันทร์ และ พฤหัส เพื่อเตรียมเสนอในอนาคต ซึ่ง สคก. อนุญาตให้ตัวแทนจากภาครัฐเข้ารับฟังและเสนอความเห็น โดยตัวแทนของ อย. คือ ภก.วินิจ ผอ.กองควบคุมยา อย. และ ตัวแทนสภาเภสัชกรรม คือ ผศ.วรรณา คณะเภสัช จุฬาฯ ซึ่งได้มีการพิจารณาไปถึงองค์ประกอบของคณะกรรมการยา แต่ยังไม่ถึงเรื่องการยกเว้นการขายยา

ที่น่าเป็นห่วง คือ ที่ได้พิจารณาไปแล้ว คือ นิยามของการแบ่งประเภทยา ที่ สคก. ให้มียาเพียง 2 ประเภทเท่านั้น คือ ยาที่จ่ายตามใบสั่งยา และ ยา OTC และยาที่อยู่ระหว่าง 2 ประเภท จะกำหนดในกฎกระทรวง ให้ผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ มีสิทธิจ่ายได้

ดังนั้น จะเห็นว่า ร่าง พรบ.ยาที่ สคก.พิจารณาอยู่ สอดรับกับร่างที่เสนอเข้า สนช. ที่ให้ผู้ประกอบวิชาชีพสาขาต่างๆ สามารถแบ่งบรรจุและขายยาได้  ซึ่งน่าจะเป็นการ share พื้นที่การจ่ายยาของเภสัชกรจากวิชาชีพอื่นๆ และน่าจะส่งผลต่อความปลอดภัยในการใช้ยา จากปัญหามาตรฐานการแบ่งบรรจุและจ่ายยา ซึ่งไม่มั่นใจว่า กฎกระทรวงที่กำหนดเงื่อนไข จะเน้น GPP หรือเปล่า รวมทั้ง รายการที่ให้พยาบาลจ่ายได้ จะครอบคลุมยาจำนวนเท่าไร (ขณะนี้ ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขที่อนุญาตให้พยาบาลเวชปฏิบัติจ่ายได้มี 19 รายการ)

ก็คงฝากให้ช่วยกันคิดเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว คือ เรื่องเร่งด่วน ที่ สนช.กำลังพิจารณา กับเรื่องที่ สคก.กำลังพิจารณาร่าง พรบ.ยาทั้งฉบับ ซึ่งเท่าที่ดู แพทยสภามีการเตรียมตัวอย่างดีในการประชุมร่วมกับ สคก.  มีการให้แพทย์เฉพาะทางผิวหนัง มาชี้แจงการยกเว้นให้แพทย์ปรุงยาได้ .... ขระที่ ตัวแทนสภาเภสัช และ อย. ยัง Harmonize กันไม่ได้ในหลายประเด็น

สำหรับผม คงต้องนำไปชี้เจงกับสมาชิกชมรมเภสัชกรประจำจังหวัด (โดยส่วนตัวเห็นว่า ร่าง พรบ.ยาที่แก้ไข 15 ประเด็น มีปัญหาเฉพาะประเด็นดังกล่าว) และจะทำความเห็นเสนอสภาเภสัชกรรม และ อย. ให้ทราบจุดยืนของสมาชิกสภาเภสัชกรรมของจังหวัด
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: พรบ.ยาฉบับใหม่เข้าสนช.วันพุธนี้แล้ว

โพสต์โดย เภสัชกรน้ำเค็ม » 13 พ.ย. 2007, 21:14

ขอบคุณเภสัชกรทุงครับ

งานนี้ต้องให้กำลังใจ ผศ.วรรณาด้วยนะครับ
เพราะต้องเสียสละเวลา เข้าร่วมการประชุมตลอด
หลายๆเรื่องต้องอาศัยความเห็นพวกเราด้วย บางครั้งก็ด่วย

ยังไงช่วยๆกันตามข้อมูลมาเล่าก็ดีครับ

ก็อย่างที่ภก.ทุงเล่าไงครับ
นี่แหละครับ รูปธรรมที่ทำให้เห็นว่า
หลายส่วนของพวกเราก็ไม่ได้เห็นด้วยกับที่ อย. ร่างนะครับ
ทั้ง สภาฯ /ภาคประชาชน

ที่พูดนี่ไม่ได้อยากฟื้นฝอยหาตะเข็บ
แต่คิดว่าคนที่เกี่ยวข้องน่าจะได้เรียนรู้อะไรจากกรณ๊ดังกล่าวนี้บ้าง

สำหรับรายชื่อที่ ภก.ทุงให้มา
ยังไงจะนำไปเสนอและหารือต่อๆให้นะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชกรน้ำเค็ม
 
โพสต์: 77
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ค. 2004, 23:05

text

โพสต์โดย azzuri » 13 พ.ย. 2007, 22:08

ผมไม่มีความเห็นนะครับว่าร่าง พรบ เป็นอย่างไร
แต่อยากให้วงการเภสัชของเราเตรียมมาตรการรองรับ
(เข้าตำราผีถึงป่าช้า ไม่เผาก้อต้องฝัง)
ไม่ว่าร่าง พรบ จะผ่าน หรือ ไม่ผ่าน
เพราะถ้าไม่ผ่าน ก้อจะได้เตรียมแก้ไขปรับปรุง ร่างกันใหม่

แต่ถ้าผ่านก้อ จะได้เตรียมรับมือกับบรรดากฎหมายลูกที่จะทยอยออกตามมา
เภสัชกร = เภสัชกรรม + กรรมกร
อยากให้โลกนี้ไม่มีโชคร้าย
Welcome to My Life
Casa di AzzurRi = บ้านของนาย อัซซูร์รี่
ภาพประจำตัวสมาชิก
azzuri
Global Moderator
 
โพสต์: 777
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 มี.ค. 2004, 16:22
ที่อยู่: สกลนคร

Re: พรบ.ยาฉบับใหม่เข้าสนช.วันพุธนี้แล้ว

โพสต์โดย capsicum » 14 พ.ย. 2007, 11:48

เภสัชทุง เขียน: ผมฝากชื่อที่อยู่คุณ capsicum และคุณ Epineprine ให้กรรมการสภาเภสัชกรรมเมื่อวานนี้ (12 พย.) แล้วครับ  ก็ขอให้ทั้งสองท่านรอการติดต่อกลับในรายละเอียดการมีส่วนร่วมกิบกิจกรรมของสภาเภสัชกรรม

ในส่วนของร่าง พรบ.ยา ที่เสนอเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันพุธที่ 7 พย. นั้น ทราบว่า เป็นร่างที่กรรมาธิการได้รวบรวมจากร่างของ อย. และ ร่าง พรบ.ยาฉบับประชาชน เพื่อแก้ไขเร่งด่วน 15 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเภสัชร้านยาที่กำลังเป็นห่วง คือ มาตรา 6  ซึ่งส่วนที่แตกต่างจาก พรบ.ยาฉบับปัจจุบัน คือ การแบ่งบรรจุยาที่ได้ขึ้นทะเบียน ซึ่งให้ แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ เภสัชกร พยาบาล หรือ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาอื่นทำการแบ่งบรรจุยาฯ และสามารถขายยาที่แบ่งบรรจุแก่คนไข้ของตน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง สำหรับพยาบาล และผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาอื่น ให้ขายได้เฉพาะรายการที่ รมต.กำหนด

จากการตรวจสอบ สาระสำคัญตามมาตรา 6 ของร่าง พรบ.ยา ฯ ดังกล่าว เป็นส่วนที่ อย.ได้เสนอ ซึ่งตาม ร่าง พรบ.ยา ฉบับประชาชน ไม่มีเสนอประเด็นดังกล่าว เพราะมองว่า การแบ่งบรรจุถือเป็นการผลิต ซึ่งต้องมีการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งไม่เห็นด้วยกับการนิยามยาที่จ่ายโดยผู้ประกอบวิชาชีพ

และขณะนี้ ก็มีการพิจารณาร่าง พรบ.ยาทั้งฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทุกวันจันทร์ และ พฤหัส เพื่อเตรียมเสนอในอนาคต ซึ่ง สคก. อนุญาตให้ตัวแทนจากภาครัฐเข้ารับฟังและเสนอความเห็น โดยตัวแทนของ อย. คือ ภก.วินิจ ผอ.กองควบคุมยา อย. และ ตัวแทนสภาเภสัชกรรม คือ ผศ.วรรณา คณะเภสัช จุฬาฯ ซึ่งได้มีการพิจารณาไปถึงองค์ประกอบของคณะกรรมการยา แต่ยังไม่ถึงเรื่องการยกเว้นการขายยา

ที่น่าเป็นห่วง คือ ที่ได้พิจารณาไปแล้ว คือ นิยามของการแบ่งประเภทยา ที่ สคก. ให้มียาเพียง 2 ประเภทเท่านั้น คือ ยาที่จ่ายตามใบสั่งยา และ ยา OTC และยาที่อยู่ระหว่าง 2 ประเภท จะกำหนดในกฎกระทรวง ให้ผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ มีสิทธิจ่ายได้

ดังนั้น จะเห็นว่า ร่าง พรบ.ยาที่ สคก.พิจารณาอยู่ สอดรับกับร่างที่เสนอเข้า สนช. ที่ให้ผู้ประกอบวิชาชีพสาขาต่างๆ สามารถแบ่งบรรจุและขายยาได้  ซึ่งน่าจะเป็นการ share พื้นที่การจ่ายยาของเภสัชกรจากวิชาชีพอื่นๆ และน่าจะส่งผลต่อความปลอดภัยในการใช้ยา จากปัญหามาตรฐานการแบ่งบรรจุและจ่ายยา ซึ่งไม่มั่นใจว่า กฎกระทรวงที่กำหนดเงื่อนไข จะเน้น GPP หรือเปล่า รวมทั้ง รายการที่ให้พยาบาลจ่ายได้ จะครอบคลุมยาจำนวนเท่าไร (ขณะนี้ ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขที่อนุญาตให้พยาบาลเวชปฏิบัติจ่ายได้มี 19 รายการ)

ก็คงฝากให้ช่วยกันคิดเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว คือ เรื่องเร่งด่วน ที่ สนช.กำลังพิจารณา กับเรื่องที่ สคก.กำลังพิจารณาร่าง พรบ.ยาทั้งฉบับ ซึ่งเท่าที่ดู แพทยสภามีการเตรียมตัวอย่างดีในการประชุมร่วมกับ สคก.  มีการให้แพทย์เฉพาะทางผิวหนัง มาชี้แจงการยกเว้นให้แพทย์ปรุงยาได้ .... ขระที่ ตัวแทนสภาเภสัช และ อย. ยัง Harmonize กันไม่ได้ในหลายประเด็น

สำหรับผม คงต้องนำไปชี้เจงกับสมาชิกชมรมเภสัชกรประจำจังหวัด (โดยส่วนตัวเห็นว่า ร่าง พรบ.ยาที่แก้ไข 15 ประเด็น มีปัญหาเฉพาะประเด็นดังกล่าว) และจะทำความเห็นเสนอสภาเภสัชกรรม และ อย. ให้ทราบจุดยืนของสมาชิกสภาเภสัชกรรมของจังหวัด




ขอขอบคุณ ที่ได้มีโอกาสเข้ามาทำงานเพื่อประโยชน์ประชาชน
และได้ทำงานเพื่อให้วิชาชีพมีความชัดเจนในภาระหน้าที่ที่ควรจะเป็น

ความจริงผมเคยต่อสู้เรื่องนี้มา
ในระดับการพิจารณาร่าง พรบ. ยา ณ ที่ประชุมสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มาก่อนหน้านี้เมื่อสี่ห้าปีก่อนแล้ว
ประเด็นที่นำเสนอสามารถหักล้างเหตุผลของ อย. และกรรมการจากแพทยสภาได้อย่างสิ้นเชิง
ทำให้เขาต้องกลับไปตั้งหลักใหม่
รอโอกาสอันเหมาะของกลุ่มผลประโยชน์เดียวกัน
เมื่อหมอมงคลได้มานั่งแป้นกำกับ ทุกอย่างก็กลับมารื้อฟื้นกันใหม่

สมัยนั้น แพทย์สภาก็หาพวกในสหวิชาชีพ โดยไปดึงสภาการพยาบาล ทันแพทย์สภา และคณะกรรมการจากสัตวแพทย์
ไปร่วมประชุมกันและจะเกลี่ยผลประโยชน์ให้ โดยผนึกกำลังจับมือกันก่อน
แล้วก็มีหนังสือมาถึงสภาเภสัชกรรมเพื่อร่วมตกลงลงนามร่างพรบ.ยา
โดยที่สภาเภสัชกรรมถูกเขาหลอกโดยไม่รู้ตัว
เพราะประสิทธิภาพของกรรมการสภาเภสัชกรรมยามนั้นอ่อนแอมาก

ขณะนี้พวกเขายังผนึกจับมือกันเหนียวแน่นเพราะได้ประโยชน์ร่วมกัน

กรณีนี้ ผมเองถ้าได้อยู่ตรงนั้น รับมือได้อย่างเด็ดขาดแน่นอน
กลวิธีจะพูดกันตรงนี้ไม่ได้เดี๋ยวเขาไหวทัน

อยากจะเจอทีมงานเพื่อลงรายละเอียดระดับความต้องการตามขั้นตอน
เราจะต้องใช้วิธีผู้กระทำก่อน (proactive) จึงจะรับมือกับกลุ่มเจ้าเล่ห์ได้
ตอนนี้ตกเป็นเลี้ยล่างมาโดยตลอด
ผมอยากกอบกู้สถานะการณ์ครับ
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
capsicum
 
โพสต์: 120
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2006, 14:30
ที่อยู่: sea & sand

Re: พรบ.ยาฉบับใหม่เข้าสนช.วันพุธนี้แล้ว

โพสต์โดย nitnit » 14 พ.ย. 2007, 12:36

capsicum เขียน:
เภสัชทุง เขียน: ผมฝากชื่อที่อยู่คุณ capsicum และคุณ Epineprine ให้กรรมการสภาเภสัชกรรมเมื่อวานนี้ (12 พย.) แล้วครับ  ก็ขอให้ทั้งสองท่านรอการติดต่อกลับในรายละเอียดการมีส่วนร่วมกิบกิจกรรมของสภาเภสัชกรรม

ในส่วนของร่าง พรบ.ยา ที่เสนอเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันพุธที่ 7 พย. นั้น ทราบว่า เป็นร่างที่กรรมาธิการได้รวบรวมจากร่างของ อย. และ ร่าง พรบ.ยาฉบับประชาชน เพื่อแก้ไขเร่งด่วน 15 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเภสัชร้านยาที่กำลังเป็นห่วง คือ มาตรา 6  ซึ่งส่วนที่แตกต่างจาก พรบ.ยาฉบับปัจจุบัน คือ การแบ่งบรรจุยาที่ได้ขึ้นทะเบียน ซึ่งให้ แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ เภสัชกร พยาบาล หรือ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาอื่นทำการแบ่งบรรจุยาฯ และสามารถขายยาที่แบ่งบรรจุแก่คนไข้ของตน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง สำหรับพยาบาล และผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาอื่น ให้ขายได้เฉพาะรายการที่ รมต.กำหนด

จากการตรวจสอบ สาระสำคัญตามมาตรา 6 ของร่าง พรบ.ยา ฯ ดังกล่าว เป็นส่วนที่ อย.ได้เสนอ ซึ่งตาม ร่าง พรบ.ยา ฉบับประชาชน ไม่มีเสนอประเด็นดังกล่าว เพราะมองว่า การแบ่งบรรจุถือเป็นการผลิต ซึ่งต้องมีการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งไม่เห็นด้วยกับการนิยามยาที่จ่ายโดยผู้ประกอบวิชาชีพ

และขณะนี้ ก็มีการพิจารณาร่าง พรบ.ยาทั้งฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทุกวันจันทร์ และ พฤหัส เพื่อเตรียมเสนอในอนาคต ซึ่ง สคก. อนุญาตให้ตัวแทนจากภาครัฐเข้ารับฟังและเสนอความเห็น โดยตัวแทนของ อย. คือ ภก.วินิจ ผอ.กองควบคุมยา อย. และ ตัวแทนสภาเภสัชกรรม คือ ผศ.วรรณา คณะเภสัช จุฬาฯ ซึ่งได้มีการพิจารณาไปถึงองค์ประกอบของคณะกรรมการยา แต่ยังไม่ถึงเรื่องการยกเว้นการขายยา

ที่น่าเป็นห่วง คือ ที่ได้พิจารณาไปแล้ว คือ นิยามของการแบ่งประเภทยา ที่ สคก. ให้มียาเพียง 2 ประเภทเท่านั้น คือ ยาที่จ่ายตามใบสั่งยา และ ยา OTC และยาที่อยู่ระหว่าง 2 ประเภท จะกำหนดในกฎกระทรวง ให้ผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ มีสิทธิจ่ายได้

ดังนั้น จะเห็นว่า ร่าง พรบ.ยาที่ สคก.พิจารณาอยู่ สอดรับกับร่างที่เสนอเข้า สนช. ที่ให้ผู้ประกอบวิชาชีพสาขาต่างๆ สามารถแบ่งบรรจุและขายยาได้  ซึ่งน่าจะเป็นการ share พื้นที่การจ่ายยาของเภสัชกรจากวิชาชีพอื่นๆ และน่าจะส่งผลต่อความปลอดภัยในการใช้ยา จากปัญหามาตรฐานการแบ่งบรรจุและจ่ายยา ซึ่งไม่มั่นใจว่า กฎกระทรวงที่กำหนดเงื่อนไข จะเน้น GPP หรือเปล่า รวมทั้ง รายการที่ให้พยาบาลจ่ายได้ จะครอบคลุมยาจำนวนเท่าไร (ขณะนี้ ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขที่อนุญาตให้พยาบาลเวชปฏิบัติจ่ายได้มี 19 รายการ)

ก็คงฝากให้ช่วยกันคิดเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว คือ เรื่องเร่งด่วน ที่ สนช.กำลังพิจารณา กับเรื่องที่ สคก.กำลังพิจารณาร่าง พรบ.ยาทั้งฉบับ ซึ่งเท่าที่ดู แพทยสภามีการเตรียมตัวอย่างดีในการประชุมร่วมกับ สคก.  มีการให้แพทย์เฉพาะทางผิวหนัง มาชี้แจงการยกเว้นให้แพทย์ปรุงยาได้ .... ขระที่ ตัวแทนสภาเภสัช และ อย. ยัง Harmonize กันไม่ได้ในหลายประเด็น

สำหรับผม คงต้องนำไปชี้เจงกับสมาชิกชมรมเภสัชกรประจำจังหวัด (โดยส่วนตัวเห็นว่า ร่าง พรบ.ยาที่แก้ไข 15 ประเด็น มีปัญหาเฉพาะประเด็นดังกล่าว) และจะทำความเห็นเสนอสภาเภสัชกรรม และ อย. ให้ทราบจุดยืนของสมาชิกสภาเภสัชกรรมของจังหวัด




ขอขอบคุณ ที่ได้มีโอกาสเข้ามาทำงานเพื่อประโยชน์ประชาชน
และได้ทำงานเพื่อให้วิชาชีพมีความชัดเจนในภาระหน้าที่ที่ควรจะเป็น

ความจริงผมเคยต่อสู้เรื่องนี้มา
ในระดับการพิจารณาร่าง พรบ. ยา ณ ที่ประชุมสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มาก่อนหน้านี้เมื่อสี่ห้าปีก่อนแล้ว
ประเด็นที่นำเสนอสามารถหักล้างเหตุผลของ อย. และกรรมการจากแพทยสภาได้อย่างสิ้นเชิง
ทำให้เขาต้องกลับไปตั้งหลักใหม่
รอโอกาสอันเหมาะของกลุ่มผลประโยชน์เดียวกัน
เมื่อหมอมงคลได้มานั่งแป้นกำกับ ทุกอย่างก็กลับมารื้อฟื้นกันใหม่

สมัยนั้น แพทย์สภาก็หาพวกในสหวิชาชีพ โดยไปดึงสภาการพยาบาล ทันแพทย์สภา และคณะกรรมการจากสัตวแพทย์
ไปร่วมประชุมกันและจะเกลี่ยผลประโยชน์ให้ โดยผนึกกำลังจับมือกันก่อน
แล้วก็มีหนังสือมาถึงสภาเภสัชกรรมเพื่อร่วมตกลงลงนามร่างพรบ.ยา
โดยที่สภาเภสัชกรรมถูกเขาหลอกโดยไม่รู้ตัว
เพราะประสิทธิภาพของกรรมการสภาเภสัชกรรมยามนั้นอ่อนแอมาก

ขณะนี้พวกเขายังผนึกจับมือกันเหนียวแน่นเพราะได้ประโยชน์ร่วมกัน

กรณีนี้ ผมเองถ้าได้อยู่ตรงนั้น รับมือได้อย่างเด็ดขาดแน่นอน
กลวิธีจะพูดกันตรงนี้ไม่ได้เดี๋ยวเขาไหวทัน

อยากจะเจอทีมงานเพื่อลงรายละเอียดระดับความต้องการตามขั้นตอน
เราจะต้องใช้วิธีผู้กระทำก่อน (proactive) จึงจะรับมือกับกลุ่มเจ้าเล่ห์ได้
ตอนนี้ตกเป็นเลี้ยล่างมาโดยตลอด
ผมอยากกอบกู้สถานะการณ์ครับ


ผมเอาใจช่วยครับ :t_up: :t_up: :t_up:
ถ้าต้องการสนับสนุนข้อมูลเชิงอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆและเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านยาที่แพทย์  พยาบาลจ่ายยา
สอบถามลงในเวปได้เลยครับ
จะช่วยรายงาน ค้นคว้าและช่วยกันจัดส่งให้ครับ..
แก้ไขล่าสุดโดย nitnit เมื่อ 14 พ.ย. 2007, 12:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
nitnit
 
โพสต์: 116
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2007, 11:44

Re: พรบ.ยาฉบับใหม่เข้าสนช.วันพุธนี้แล้ว

โพสต์โดย capsicum » 14 พ.ย. 2007, 14:08

nitnit เขียน:ผมเอาใจช่วยครับ :t_up: :t_up: :t_up:
ถ้าต้องการสนับสนุนข้อมูลเชิงอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆและเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านยาที่แพทย์  พยาบาลจ่ายยา
สอบถามลงในเวปได้เลยครับ
จะช่วยรายงาน ค้นคว้าและช่วยกันจัดส่งให้ครับ..




แจ่มครับ
ดำเนินการข้อมูลเชิงอุบัติการณ์ทั้งที่เกิดจากแพทย์และพยาบาลได้เลยครับ
ข้อมูลที่แสดงตัวเลขของอุบัติการณ์ที่เป็นข้ออ้างอิงหลายๆ แห่ง

รออยู่ครับ

สู้ สู้
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
capsicum
 
โพสต์: 120
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2006, 14:30
ที่อยู่: sea & sand

Re: พรบ.ยาฉบับใหม่เข้าสนช.วันพุธนี้แล้ว

โพสต์โดย nitnit » 14 พ.ย. 2007, 16:01

ขอที่อยู่หรือเมลที่จะให้ส่งข้อมูลด้วยครับ...???
ขอเญพี่น้องเภสัชกรทั้งหลายช่วยส่งกันเยอะๆนะครับ ไม่ว่าจากโรงพยาบาล(ความคลาดเคลื่อนทางยา หรือร้านยา )ช่วยกันครับ
มีใบสั่งยาที่โรงบาลด้วยยิ่งดี......
nitnit
 
โพสต์: 116
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2007, 11:44

Re: พรบ.ยาฉบับใหม่เข้าสนช.วันพุธนี้แล้ว

โพสต์โดย เภสัชทุง » 14 พ.ย. 2007, 19:10

ข้อมูลที่จังหวัด จากการตรวจมาตรฐานคลินิกประจำปี พบข้อบกพร่องเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ เรื่อง ยาหมดอายุ ยาเสื่อมคุณภาพ และยาไม่มีทะเบียนตำรับ ดังนี้

- ปี 2548  ตรวจ 48 แห่ง พบปัญหา 12 แห่ง คิดเป็น 25 %
- ปี 2550 ตรวจ 84 แห่ง พบปัญหา 11 แห่ง คิดเป็น 13.1 %

ส่วนประเด็นที่ผมจะเวียนหนังสือแจ้งให้สมาชิกในจังหวัดพิจารณาคัดค้านและส่งไปที่สภาเภสัชกรรม , อย. และ ประธานกรรมาธิการสาธารณสุข คือ คัดค้านเฉพาะมาตรา 6 ของ ร่าง พรบ.ยา (ฉบับที่ ...)  พ.ศ. ... โดยมีเหตุผล ดังนี้

1. การแก้ไขมาตรา 13 ของ พรบ.ยา พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ในส่วนของมาตรา 13 (2) ที่ยกเว้นการแบ่งบรรจุยาที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา นั้น

    เนื่องจากการแบ่งบรรจุยารูปแบบต่างๆ  ถือเป็นการผลิต ที่ต้องมีมาตรฐานและดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่มีการเรียนและฝึกฝนจนมีทักษะและความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ มิฉะนั้น อาจส่งผลต่อคุณภาพยาที่แบ่งบรรจุ ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความปลอดภัยในการใช้ยา ซึ่งจากข้อมูลการตรวจสถานพยาบาลที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนของจังหวัด พบปัญหายาแบ่งบรรจุที่เก็บรักษาไม่ได้มาตรฐานจนเสื่อมสภาพ หมดอายุ หรือ ไม่มีฉลากให้ข้อมูลที่ครบถ้วนแก่ประชาชนในปี 2548 และ 2550 ร้อยละ 25 และ 13.1 ตามลำดับ สำหรับการแบ่งบรรจุยาที่ขึ้นทะเบียนที่จ่ายแก่คนไข้เฉพาะราย ถือเป็นขั้นตอนของการประกอบวิชาชีพที่ได้รับการยกเว้นอยู่แล้วตาม มาตรา 13(3) ของ พรบ.ยา พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

การที่แก้ไข พรบ.ยา โดยขยายขอบเขตให้มีการแบ่งบรรจุยาล่วงหน้า จึงทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงในการไม่ได้รับความปลอดภัยในการใช้ยาและการได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน ซึ่งขัดต่อเจตนารมณ์ของการแก้ไขฯ ตามเอกสารประกอบการพิจารณาร่าง พรบ.ยา (ฉบับที่ ....) พ.ศ..... ของ สนช. ส่วนที่ 1  ประเด็นที่ 3 ที่ระบุว่า "แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อยกเว้นการขออนุญาตผลิต ขาย หรือนำหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อให้ผู้บริโภคยาได้รับความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ..."

2. การแก้ไขในส่วนของมาตรา 13 (3) วรรคสอง ที่กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์สาขาอื่น หรือ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ สามารถขายสำหรับคนไข้ของตนโดยให้ขายได้ตามรายการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด นั้น

  การขายยาควรกระทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับยาโดยตรง คือ เภสัชกร การเปิดกว้างให้ทุกวิชาชีพสามารถขายยาได้ อาจส่งผลต่อมาตรฐานการส่งมอบยาแก่ประชาชน  และอาจขัดต่อขอบเขตการประกอบวิชาชีพ

กรณีที่อ้างเหตุผลในการแก้ไข เพื่อให้เป็นไปตาม พรบ.วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดคำจำกัดความของ "การประกอบวิชาชีพการพยาบาล" ใน (3) ให้กระทำตามวิธีที่กำหนดไว้ในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค และระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดในการรักษาโรคเบื้องต้น พ.ศ.2545 ลงวันที่ 31 ตค. 45 ข้อ 8  ได้กำหนดให้การรักษาโรคเบื้องต้น ถ้าจำเป็นต้องใช้ยา ให้ใช้ยาได้ตามคู่มือการใช้ยาที่สภาการพยาบาลกำหนด นั้น

ตามนัยของหนังสือกระทรวงสาธารณสุขที่ สธ 0201.042.1/224 ลงวันที่ 19 มค. 50 ที่ตอบข้อหารือของสภาเภสัชกรรม ได้แจ้งว่า เหตุผลที่ได้มีการแก้ไข พรบ.วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 4 ในส่วนของคำจำกัดความ "การประกอบวิชาชีพการพยาบาล" ก็เพื่อรองรับพยาบาลที่ต้องปฏิบัติงานในการให้บริการปฐมภูมิ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายที่จะให้มีพยาบาลวิชาชีพ 1 คน ใน 1 ตำบล สามารถทำการรักษาโรคเบื้องต้นและให้ภูมิคุ้มกันโรคได้ จะเห็นว่า เจตนารมณ์ในการให้พยาบาลสามารถใช้ยาในการรักษาโรคเบื้องต้น เป็นเจตนารมณ์ที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาการให้บริการสาธารณสุขภาครัฐ ซึ่งพยาบาลอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์ในสถานพยาบาล ต่างกับการประกอบธุรกิจภาคเอกชน ที่มีความอิสระ และมีแนวโน้มในการแสวงหาผลกำไรจากการขายยา ที่จะส่งผลต่อการตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมาย หากพยาบาลใช้ยาในสถานพยาบาลเกินกว่าที่รัฐมนตรีประกาศ

นอกจากนี้ กรณีการออกระเบียบกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าว ยังเป็นประเด็นถกเถียงที่สภาเภสัชกรรมได้ทักท้วงและกระทรวงสาธารณสุขยังตอบบางประเด็นไม่ชัดเจน ได้แก่ ขอบเขตการรักษาโรคเบื้องต้น ที่หากให้แต่ละวิชาชีพไปกำหนดกันเองแล้ว จะทำให้เกิดปัญหาการก้าวล่วงในวิชาชีพได้ รวมทั้ง ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ก็อยู่ระหว่างการยกร่าง พรบ.ยา ซึ่งยังไม่เสร็จสิ้น  การเร่งแก้ไข พรบ.ยา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการยกเว้นการขายยา อาจทำให้เกิดปัญหาไม่สอดคล้องกับประเภทยา และ การควบคุมการขายยา ที่อยู่ระหว่างการยกร่าง ได้...

ก็ฝากร่างที่ผมทำได้ Discuss เพิ่มเติมครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: พรบ.ยาฉบับใหม่เข้าสนช.วันพุธนี้แล้ว

โพสต์โดย kb007 » 15 พ.ย. 2007, 00:11

ขอขอบคุณพี่ๆ...ที่ร่วมกันต่อสู้เพื่อวิชาชีพของเราครับ
(เอาใจช่วยครับ!...)  สู้สู้...สู้สู้  :D
สู้ต่อไป...! ไอ้มดแดง
ภาพประจำตัวสมาชิก
kb007
 
โพสต์: 43
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.พ. 2004, 01:10

Re: พรบ.ยาฉบับใหม่เข้าสนช.วันพุธนี้แล้ว

โพสต์โดย เภสัชทุง » 15 พ.ย. 2007, 18:09

วันนี้ มีการประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อพิจารณาร่าง พรบ.ยาทั้งฉบับเช่นเคย ทราบว่าวันนี้ แพทยสภาส่งแพทย์ปรุงยา มาเพื่อ defense การปรุงยาแก่คนไข้ตามร่าง ที่ อย.ชงให้ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเสร็จเขา  :neutral:

เพราะตัวแทนของสภาเภสัชต้องเผชิญแรงเสียดทานจากทั้งจากแพทย์และตัวแทนเภสัชจาก อย.

ตอนนี้ ผมร่างหนังสือถึงนายกสภาเภสัชกรรมเสร็จแล้ว กำลังให้พี่ที่นับถือช่วยเกลาให้ คิดว่า จะร่วมกับบางจังหวัดรวบรวมรายชื่อให้ถึง 50 คน เพื่อให้กรรมการสภาเภสัชกรรมต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณาและตอบโดยไม่ชักช้า
ภาพประจำตัวสมาชิก
เภสัชทุง
 
โพสต์: 417
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2004, 23:57

Re: พรบ.ยาฉบับใหม่เข้าสนช.วันพุธนี้แล้ว

โพสต์โดย Wiz@rd. » 15 พ.ย. 2007, 18:52

กรณี bioclinic แพทย์ปรุงยา เป็นไงล่ะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Wiz@rd.
Global Moderator
 
โพสต์: 942
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มี.ค. 2004, 20:15
ที่อยู่: โลก

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง เอสเปรสโซ่

ผู้ใช้งานขณะนี้

New Document