ผัดหมี่ เขียน:ไม่น่าเป็นไปได้ ในเมื่ิอความนิยมของการเลือกคณะเภสัช ไม่ว่ามหิดล จุฬา ยัง HOT HIT
ไม่ว่าจะผลิตมาแค่ไหน เมื่อมีบุคคลากรเป็นจำนวนมาก ย่อมมีทั้งของดี ของพอใช้ ของที่ใช้ไม่ได้ปนกันไป
สังคมจะเป็นผู้คัดเลือกต่อๆไป
ส่วนที่คนที่จะเสียหายน่าจะเป็นร้านยาบรรจุเสร็จที่น่าจะสูญเสียรายได้
เราผลิตให้เภสัชกรมีความหลากหลาย(เป็ด) ทำให้เภสัชกรแต่ละคนจะมีความเด่นแตกต่างกัน ความประสานหรือต่อเนื่อง
ของช่วงต่อเภสัชแต่ละท่านน้อย
...ไม่จริงหรอก ถึงเราไม่ใช่เทวดาเหมือนแพทย์ แต่เราก็สามารถเป็นนางฟ้าได้....
ต่างกันที่บทบาท ไม่เห็นต้องมาเปรียบเทียบระนาบกันเลยในความรู้สึก
แต่ถ้าจะเปรียบเทียบในเรื่องรายได้ ก็ต้องเข้าใจว่านี่คือกระทรวงแพทย์ เขาก็ต้องเขียนให้ตัวเองดีกว่าอยู่แล้ว
อยู่ร้านยา มีความสุขกับครอบครัว(เป้าหมายของชีวิต) ดีกว่าทำงานเป็นควายในโรงพยาบาลเยอะเลย...
สินค้าที่ชื่อ.."นักศึกษาเภสัชฯ/นิสิตเภสัชฯ" ยังขายได้ครับ,ยังมีผู้ซื้อมาหยิบใส่ตะกร้าและพร้อมจะจ่ายเงินให้อยู่ครับ,
คณะเภสัชฯยังเป็นที่ต้องการของนักเรียนจำนวนมากที่จบจากมอหก, มีผู้ปกครองอีกมากมายที่พร้อมจะควักกระเป๋าส่งเสียให้ลูกหลานเรียนเภสัชฯ,
..มหาลัยเภสัชฯยังจะได้เงินจากเด็กพวกนี้อีกมากโขอยู่หละครับ..."มหาลัยสบายใจได้ รับรองมีเงินใช้จ่ายมืออย่างมือเติบได้อีกหลายปี"
ใครที่เป็นแฟนมติชนสุดสัปดาห์,
เค้าลงบทความในหนังสือก่อนหน้านี้ประมาณเล่มหรือสองเล่ม..คือ มีผลการสำรวจวิชาชีพที่จบป.ตรีแล้วได้เงินเดือนสูงสุดของไทย..นั่นคือ.."อาชีพเภสัชกร" (ได้มากกว่าสถาปนิกซะอีก!!)
นี่ไงคือคำตอบของการที่นักเรียนอยากไปเรียนเภสัชฯกันเยอะ..
.." คำตอบคือเพื่อเงิน ไม่ใช่เพื่อชาติและประชาชน แน่นอน!!
ปล.
ขอติดเรื่อง"เป็ด"ไว้ก่อนนะครับ, เป็นประเด็นหนึ่งที่ทำให้เภสัชกรไทย
รุ่งเรืองฮวบๆอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
แล้วผมจะเขียนเรื่องนี้เป็นประเด็นหนึ่งของบล้อค ที่มัลติพลายครับ
