Songklod Suwanich เขียน:โดยส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วยครับ!
จริงอยู่ที่ยาบางชนิด เช่น ยานวด วิตามิน 3B อาจไม่ใช่ยาจำเป็นที่ขาดไม่ได้ และพอหาซื้อเองได้
แต่
เวชภัณฑ์ (1) บางตัว มันจำเป็นต้องใช้ (2) เช่นถ้าใครมีบุพการี หรือลูกหลานที่ป่วยอยู่ด้วยโรคเรื้อรังบางอย่าง
แต่ต้องมานั่งจ่ายค่าเวชภัณฑ์เหล่านี้ ทั้งๆที่ตัวเองก็ทำงานรับใช้ชาติอยู่ทุกวัน แต่
ทำไมไม่ได้สิทธินี้! (3)แต่พวกประกันสุขภาพ ใช้ฟรีได้??? (4)จะอ้างว่า เพราะ ขรก.มีรายได้ประจำ? น่าจะมีกำลังจ่ายมากกว่าชาวบ้าน? (5)แต่อย่าลืมว่า เอกชน หรืออาเสี่ยเจ้าของโรงสี หรือเจ้าของธุรกิจส่วนตัว ที่มั่งมีกว่าข้าราชการซะอีก
เค้าก็ใช้บัตรประกันสุขภาพได้เหมือนกัน แถมไม่ต้องจ่ายค่ายาและเวชภัณฑ์เหล่านี้ด้วย
ความเห็นของผม เป็นนโยบายที่งี่เง่ามากครับ! (6)

ขออภิปรายเป็นข้อๆ นะครับ
1) สงสัยว่า
เวชภัณฑ์ที่คุณอ้างนั้น มีคำจำกัดความว่าอย่างไรครับ น่าจะอธิบายให้เข้าใจตรงกันเสียก่อน
2) บางตัวที่จำเป็นต้องใช้ ขอให้ยกตัวอย่างพร้อมหลักฐานสนับสนุนเชิงประจักษ์ ที่บอกได้ว่า หากสนับสนุนการจ่ายต่อสิ่งนี้แล้วสามารถบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่าง
คุ้มค่าและ
ยั่งยืน3) ลองกลับไปทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องดูครับว่า ทำไมถึงไม่ได้สิทธิ์นี้
4) ก็คงต้องกลับไปทบทวนกฎหมายเช่นกันว่าทำไมถึงได้สิทธิ์นี้
5) อันนี้ไม่ทราบได้ว่าผู้ใดอ้างอิงมาครับ และส่วนตัวผมว่าคงไม่ได้อ้างข้อความนี้หรอก แต่คงอ้างตามคำตอบที่ผมตอบตามข้อ 3
6) นโยบายไม่ได้คิดได้ด้วยตัวคนเดียว แต่ต้องกำหนดออกมาโดยคณะกรรมการที่ได้รับการรับรองและตรวจสอบหลายขั้นตอน ยังต้องดูองค์ประกอบของกฎหมาย ขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กร ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด รวมไปถึงผู้ที่ต้องรับหน้าที่ไปปฏิบัติด้วยว่าปฏิบัติตามได้หรือไม่ วิสัยทัศน์อันแคบ กับมุมมองอันแคบของคนคนเดียวไม่เพียงพอที่จะกำหนดนโยบายได้หรอกครับ
โดยส่วนตัว เมื่อก่อนผมก็คิดว่า ข้าราชการได้สิทธิ์การรักษาดีที่สุดในสิทธิ์การรักษาทั้ง 3 กลุ่ม แต่มาวันนี้กลับคิดว่าเป็น กลุ่มที่ได้รับประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากกว่า ด้วยเหตุผลดังนี้
1) ข้าราชการเป็นหนูทดลองยา ยาใหม่ๆ ที่ (คิดว่า) ดี ข้อมูลที่ (เอาแต่) ดี ให้เบิกใช้กันเพียบ และเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ดีในการเก็บข้อมูลด้านความปลอดภัย หรือ clinical trial phase IV ก็ไม่ปาน
2) กลุ่มที่ได้รับประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้ใช้ยาเฉพาะยาในบัญชียาหลักแห่งชาติซึ่งมีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนว่า มีประสิทธิผล ปลอดภัย และสามารถใช้ยาได้อย่างยั่งยืน ในขณะที่กลุ่มข้าราชการอาจได้ยาใหม่ๆ ในข้อบ่งใช้ที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน แน่นอนว่าเป็นการสูญเปล่าและเสี่ยงต่ออันตรายมากกว่าจะได้ประโยชน์ (risk over benefit)
3) ข้าราชการหรือครอบครัวของข้าราชการที่มีสิทธิ์เบิกค่าใช้จ่ายคิดเป็นจำนวน 5% ของประชากรทั้งประเทศ แต่สูบเอางบประมาณชาติไปเกือบ 70,000 ล้านบาท ในขณะที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสำนักงานประกันสังคม (ยังไม่มีตัวเลขอย่างเป็นทางการ) ยังน้อยกว่าอีกครับ แล้วคุณยังอยากให้เบิกอะไรที่มันไร้ประโยชน์แต่เป็นภาระของชาติอีกหรือ?
4) กลุ่มหลักประกันสุขภาพไม่ต้องจ่ายอะไรเลยแต่ได้รับการคุ้มครองด้านสุขภาพที่
จำเป็นทุกอย่าง ในขณะที่ข้าราชการต้องได้เงินเดือนน้อยๆ จึงจะมีสิทธิ์คุ้มครองสุขภาพ T_T